กรมธรรม์ประกันชีวิต ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญยิ่งอีกสิ่งหนึ่งเป็นเครื่องมือในลักษณะของสัญญาเพื่อประโยชน์ตอบแทนความสูญเสียรายได้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งยังไม่มีสัญญาชนิดใดที่ทำได้เหมือนกรมธรรม์ประกันชีวิต
การประกันชีวิตรับรองจำนวนเงินที่แน่นอนสำหรับครอบครัว หรือสำหรับวัยชราของผู้เอาประกันชีวิตเองโดยการประกันชีวิต บิดาอาจรับรองเงินค่าเล่าเรียนเพื่อการศึกษาของบุตรไม่ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่หรือจากไปก่อนก็ตาม คนจำนวนมากพากันกล่าวว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตนั้น ช่างยืดยาวหลายหน้า ตัวหนังสือก็เล็กๆ อ่านแล้วสับสนไม่เข้าใจ หลายคนสงสัยว่าทำไมกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงเขียนให้มันสั้นๆ ง่ายๆ ไม่ได้หรือ
เหตุผลที่กรมธรรม์ประกันชีวิตจะต้องระบุเงื่อนไขเอาไว้โดยละเอียดมีอยู่ 2 ประการที่สำคัญ
- เพราะสิทธิที่บริษัทให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์นั้นมีอยู่หลายประการ และบางประการอาจไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ คู่สัญญาของบริษัท อาจไม่มีชีวิตอยู่ชี้แจง หรืออธิบายความหมายของสัญญา ด้วยเหตุนี้เงื่อนไขต่างๆ จึงต้องเขียนอย่างชัดแจ้งใช้ภาษาที่รัดกุมมีกฏหมายรองรับเงื่อนไขทุกข้อซึ่งไม่เพียงแต่ปกป้องบริษัท หากแต่ปกป้องผู้เอาประกันภัยด้วย
- นายทะเบียนประกันชีวิตซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ควบคุมบริษัทประกันภัย ดดยกฏหมายบังคับให้บริษัทต้องระบุเงื่อนไข ข้อตกลงที่แน่ชัดเอาไว้ในกรมธรรม์ เพื่อป้องกันมิให้มีการเข้าใจผิดกัน บางกรณีอาจต้องเขียนข้อความตามที่ทางราชการกำหนดด้วย เมื่อเราพิจารณากรมธรรม์จำนวนล้านๆ ฉบับ ที่ออกให้ผู้เอาประกันภัยและจำนวนเงินนับพันล้านบาท ที่จ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ในปีหนึ่งๆ แล้ว ชี้ให้เห็นชัดว่าปัญหาเกี่ยวกับเงื่อนไขกรมธรรม์มีเพียงน้อยนัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนของเงื่อนไขกรมธรรม์และการใช้สิทธิ์ในกรมธรรม์
กรมธรรม์แบบต่างๆ
หลายท่านคงทราบดีแล้วว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตมีอยู่หลายแบบซึ่งแต่ละแบบมีรายระเอียดที่แตกต่างกัน แต่ก็คล้ายกันในสาระสำคัญและมีเงื่อนไขหลายข้อที่ตรงกันเป็นมาตราฐาน การที่จะให้นำกรมธรรม์ทุกแบบของบริษัทมาอธิบายในที่นี้คงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตามถ้าหากได้เข้าใจแบบกรมธรรม์หลัก 3 แบบแล้ว ก็จะช่วยให้ท่านสามารถศึกษาทำความเข้าใจกับกรมธรรม์แบบอื่นๆ ของบริษัทได้ง่ายยิ่งขึ้น
ในหน้าแรกของกรมธรรม์ประกันชีวิตจะต้องประกอบด้วย
- ชื่อผู้เอาประกัน ผู้รับผลประโยชน์
- จำนวนเงินเอาประกันภัย
- วันที่ออกกรมธรรม์ เลขที่กรมธรรม์ อายุของผู้เอาประกันภัย
- จำนวนเบี้ยประกันภัย วิธีชำระเบี้ยประกันภัย กำหนดเวลาในการชำระเบี้ยประกันภัย กำหนดเวลาในการประกันภัย
- สัญญาเพิ่มเติม หรืออนุสัญญา
- ชื่อบริษัทผู้รับประกันภัยและที่ทำการ
ข้อกำหนดในส่วนนี้จะมีความแตกต่างกันตามแบบของกรมธรรม์
แบบกรมธรรม์ | จ่ายให้ใคร | จ่ายเมื่อใด | กำหนดชำระเบี้ยประกันภัย |
1. ตลอดชีพ | ผู้รับผลประโยชน์ | เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต | ตามกำหนดที่ระบุไว้/ หรือจนกว่าจะเสียชีวิต/ หรืออายุ 90 ปี |
2. สะสมทรัพย์ | ผู้เอาประกัน หรือผู้รับประโยชน์ ผู้รับผลประโยชน์ |
- เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตขณะสัญญาครบกำหนด -เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนสัญญาครบกำหนด |
ตามกำหนดที่ระบุไว้/ หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต |
3. ชั่วระยะเวลา | ผู้รับผลประโยชน์ | เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนสัญญาสิ้นสุด | ตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้/ หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต |
ในหน้าต่อไปของกรมธรรม์ โดยปกติจะมีข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิของผู้เอาประกันภัยและสิทธิของบริษัท ดดยทั่วๆ ไปกรมธรรม์แบบตลอดชีพหรือแบบสะสมทรัพย์
- สิทธิครอบครองกรมธรรม์ เงื่อนไขข้อนี้ระบุอำนาจและสิทธิของผู้ถือกรมธรรม์อย่างไรบ้างเช่น
1.1 ผู้ถือกรมธรรม์มีสิทธิจัดการทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับกรมธรรม์ตลอดเวลาที่เขามีชีวิตอยู่
1.2 การมอบให้บุคคลอื่นเป็นผู้ถือกรมธรรม์ - ผู้รับประโยชน์ เงื่อนไขข้อนี้ให้สิทธิผู้ถือกรมธรรม์ในการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์
- การผ่อนผันชำระเบี้ยประกันภัย เงื่อนไขข้อนี้บริษัทให้สิทธิพิเศษแก่ผู้เอาประกันภัย โดยยืดเวลาออกไปอีก 30 วัน หลังจากวันที่ถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย และไม่ถือว่าผิดสัญญา ทั้งไม่คิดดอกเบี้ยด้วย
- การต่อสัญญา การขาดชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนด จะทำให้สัญญาขาดอายุลง เงื่อนไขข้อนี้จะรับรองให้ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิต่อสัญญาได้ภายในเวลา 5 ปี นับจากวันที่เบี้ยประกันภัยขาดชำระครั้งแรก แต่ทั้งนี้กรมธรรม์ฉบับดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเวนคืน และผู้เอาประกันภัยจะต้องแสดงหลักฐานสุขภาพและิอยู่ในสภาพที่รับประกันภัยได้
- สิทธิเกิดจากมูลค่ากรมธรรม์ กรมธรรม์จะมีมูลค่าเงินสด เมื่อกรมธรรม์มีอายุ 2-3 ปี แล้วแต่แบบ เมื่อกรมธรรม์มีมูลค่าเงินสดแล้วผู้เอาประกันภัยจะได้รับสิทธิ
5.1 การชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติ เงื่อนไขข้อนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เอาประกันภัย ได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ไม่ได้ชำระเบี้ยประกันภัย หลังจากวันผ่อนผันสิ้นสุดลงแล้ว
5.2 เวนคืนกรมธรรม์ ผู้ถือกรมธรรม์มีสิทธิที่จะขอเวนคืนกรมธรรม์โดยขอรับเงินสดตามมูลค่าที่ระบุไว้ในตารางมูลค่า
5.3 กู้เงินกรมธรรม์ เงื่อนไขข้อนี้ให้สิทธิผู้เอาประกันภัยในยามที่ต้องการใช้เงินสามารถขอกู้จากบริษัทตามมูลค่าเงินสด ซึ่งบริษัทจะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างต่ำกว่าตลาด ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิที่จะชำระเงินกู้นี้ทั้งหมดหรือบางส่วนในเวลาใดก้ได้
5.4 ขอแปรสภาพกรมธรรม์เดิมเป็นแบบกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ คือการลดจำนวนเงินเอาประกันภัยลง หรือเรียกว่ามูลค่าเงินสำเร็จ เงื่อนไขข้อนี้เปิดโอกาสให้ผู้เอาประกันภัยงดชำระเบี้ยประกันภัยแต่ให้คงแบบกรมธรรม์เดิมเอาไว้ เพียงแต่ลดจำนวนเงินประกันภัยลงอย่างเดียว
5.5 ขอแปรสภาพกรมธรรม์เดิมเป็นแบบกรมธรรม์ขยายระยะเวลา บริษัทจะนำมูลค่าเงินสดไปแปรสภาพเป็นมูลค่ากรมธรรม์ขยายระยะเวลาโดยบริษัทจะคำนวนระยะเวลาความคุ้มครองให้ว่าจะขยายเวลาต่อไปได้อีกกี่ปีกี่วันในจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เท่าเดิม - การแบ่งเงินปันผลกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันชีวิตมีอยู่ 2 ชนิดคือ ไม่มีเงินปันผล ซึ่งเบี้ยประกันภัยจะถูกกว่าชนิดมีเงินปันผลในกรมธรรม์แบบเดียวกัน
โดยปกติกรมธรรม์ชนิดมีเงินปันผลจะได้รับเงินปันผลจากบริษัทหลังจากปีที่ 2 ของกรมธรรม์ ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิที่จะเลือกรับโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ดังนี้
6.1 ขอรับเป็นเงินสด
6.2 ใช้ลดเบี้ยประกันภัย
6.3 ฝากสะสมไว้กับบริษัทในอัตราดอกเบี้ยที่รับรอง - เงื่อนไขทั่วไป เป็นเงื่อนไขที่แจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบ ดังนี้
7.1 ส่วนประกอบของสัญญา เงื่อนไขข้อนี้จะบอกให้ทราบว่าคำขอประกันภัย และคำแถลงสุขภาพของผู้เอาประกันภัยประกอบเป็นสัญญา และบริษัทถือเป็นสาระสำคัญในการรับประกันภัย
7.2 อำนาจขจากตัวแทน เงื่อไขข้อนี้จะบอกให้ทราบว่า ตัวแทนประกันชีวิตไม่มีอำนาจในการทำการเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือให้สัญญากับผู้เอาประกันภัย และผู้ที่มีอำนาจทำการแทนบริษัทได้นั้น ต้องได้รับมอบอำนาจจากบริษัท คือผู้มีตำแหน่งใดบ้าง โดยปกติจะเป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับสูง
7.3 สิทธิในการโต้แย้ง เงื่อนไขข้อนี้บอกให้ทราบว่า บริษัทจะไม่ใช้สิทธิโต้แย้งใดๆ หลังจากที่สัญญานี้เลยกำหนด 5 ปีแล้วตามกฏหมาย แต่บริษัทอาจกำหนดเวลาไว้น้อยกว่านี้ก็ย่อมได้ และบางบริษัทกำหนดไว้เพียง 2 ปี
7.4 การมอบโอนสิทธิ เงื่อนไขข้อนี้เกี่ยวโยงกับกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นลูกหนี้ ซึ่งจะใช้กรมธรรม์เพื่อค้ำประกันเงินกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
7.5 การเปลี่ยนแบบกรมธรรม์เงื่อนไขข้อนี้บอกให้ทราบว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยประสงค์จะเปลี่ยนแบบกรมธรรม์ที่ถืออยู่เดิมเช่น แบบตลอดชีพ แต่เห็นว่ายาวนานเกินไป อาจจะขอเปลี่ยนเป็นแบบที่มีระยะสั้นกว่า เช่นแบบสะสมทรัพย์ 20 ปี โดยเพิ่มเบี้ยประกันภัย
7.6 อัตตวินิบาตกรรม เงื่อนไขข้อนี้บอกให้ทราบว่า การทำอัตตวิบาตกรรมด้วยใจสมัครภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ทำสัญญาบริษัทจะไม่จ่ายเงินประกันภัยให้เพราะอาจเป็นการจูงใจให้คนฆ่าตัวตายมากขึ้น
7.7 ผู้เอาประกันภัยถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตาย เงื่อนไขข้อนี้บอกให้ทราบว่า บริษัทจะไม่ใช้เงินประกันภัยให้ หากผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยตายโดยเจตนา แต่จะคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้
7.8 อายุคลาดเคลื่อน เงื่อนไขข้อนี้จะบอกให้ทราบว่า หากอายุในขณะเอาประกันภัยไม่ตรงตามความเป็นจริง บริษัทจะปฏิบัติดังนี้
ก. บอกอายุน้อยกว่าความเป็นจริง การจ่ายเงินเอาประกันภัยจะลดลงตามส่วน แต่ถ้าอายุที่บอกไว้มากกว่าอายุจริง บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยส่วนที่เกินให้
ข. ถ้าอายุที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยอยู่นอกจำกัดอัตราทาง ถ้าปกติชองบริษัทสัญญษจะเป็นโมฆียะ หรือสัญญาไม่มีผล
โดยสรุป สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาที่บริษัทประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย และสัญญาว่าจะจ่ายเงินเงินจำนวนหนึ่งที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์หรือผู้ถือกรมธรรม์ ในกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนสัญญาครบกำหนดหรือเมื่อสัญญาครบกำหนด และผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่บริษัทตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้เป็นงวดๆ ซึ่งมีเงื่อนไขแจ้งสิทธิต่างๆ และมีวิธีปฏิบัติอยู่ในสัญญาดังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น