ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประกันชีวิต แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประกันชีวิต แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์

ปกป้องเงิน 90% ของคุณด้วยเงินเพียง 10%


“ปกป้องเงิน 90% ของคุณด้วยเงินเพียง 10%” ก่อนที่เงินคุณจะหายไปทั้ง 100%

ช่วงชีวิตของคนเราทุกๆคนนั้น ตอนวัยเด็กเป็นวัยพึ่งพิง จะใช้เงินก็ต้องขอจากคุณพ่อคุณแม่ พอเรียนจบก็หางานทำ ประกอบอาชีพเพื่อมีรายได้ ซึ่งรายได้ก็นำมาซึ่งทรัพย์สินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถ พอมีครอบครัวก็ต้องมีเงินเลี้ยงดูครอบครัว แล้วก็เก็บเงินเพื่อที่จะเอาไว้ใช้ตามเกษียณ หรือ เก็บเงินเป็นทุนการศึกษาบุตร รวมถึงต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่ชรา เป็นต้น

ซึ่งเรื่องที่มากล่าวข้างต้นนั้น ก็เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว บางคนก็อาจจะมีซื้อสินทรัพย์ต่างๆ เช่น บ้าน รถ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะซื้อผ่อน ก็เลยทำให้บางคนก็ยังมีภาระหนี้สิน อีกด้วย ดังนั้นหากเราจะเปรียบว่า ความสามารถในการหารายได้ของเรา คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คงไม่ผิดนัก

เพราะ ความสามารถในการหารายได้ของเรา นำมาซึ่งทุกๆอย่างของครอบครัว จริงมั้ยครับ

และถ้าจะถามว่า “ถ้าวันนี้ คุณต้องสูญเสียเงิน 90% ของที่คุณมี ไปจริงๆ คุณจะเดือดร้อนมั้ย” เพราะ หากท่านที่ตอบว่าไม่เดือดร้อนได้จริงๆ ก็ต้องยอมรับเลยว่า ท่านมีสถานะการเงินที่ยอดเยี่ยมมากๆเพราะหากเกิดไรกับเราก็ตาม เรามีสถานะการเงิน ที่มากพอกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

แต่ที่พบส่วนใหญ่เลยจริงๆ ก็จะตอบว่า “คงเดือดร้อนสิ” ถ้าเงินต้องหายไปถึง 90% ของชีวิตจริงๆ

ดังนั้นเหตุการณ์ที่จะทำให้เงินของชีวิตเรา จู่ๆหายไป 90-100% ก็มีสาเหตุหลักๆคือ การเสียชีวิตไปก่อน การพิการทุพพลภาพ และ การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เพราะ หากต้องเสียชีวิตไปก่อนหรือพิการ ก็เท่ากับว่ารายได้ที่คาดว่าจะมีในอนาคต ก็จะมลายหายไปด้วย

แล้วถ้าถึงวันนั้น คนข้างหลังจะอยู่อย่างไร หรือ หากต้องเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงล่ะ ก็ต้องรีบหาเงินมารักษา มีเท่าไหร่ก็แทบจะเอาออกมาขายจนหมด เช่น ขายบ้าน ขายรถ มารักษาตัว

แถมสุดท้ายก็อาจจะยังต้องจากไปก็ได้ (เท่ากับสูญเงินเปล่าๆ)

ซึ่งหากเราไม่มีการเตรียมวางแผนการประกันไว้ก่อนอย่างมากพอ ก็น่าจะมีผลต่อครอบครัวในอนาคตแน่นอน เช่น อาจจะต้องทำให้ภรรยาที่เป็นแม่บ้านต้องมาทำงาน หรือ ต้องย้ายโรงเรียนลูกจาก โรงเรียนเอกชน ไปเรียนโรงเรียนรัฐบาล ก็ได้

และถ้าจะถามว่า ถ้าเกิดเงินเราหายไป 10 บาทจาก 100 บาท เราคิดว่าเราเดือดร้อนมากมั้ย ? ซึ่งคำตอบส่วนใหญ่ก็คงตอบว่าคือ “ไม่เดือดร้อนเลย”

ดังนั้นการวางแผนการประกัน คือ “การยอมสูญเสียเงินเพียง 10% ของเรา เพื่อเอาไว้ใช้ปกป้องเงินอีก 90% ที่เหลือ" โดยใช้เงินเพียง 10% ของรายได้เราจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกัน เพื่อเป็นการโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกันรับผิดชอบแทน

เพราะหากต้องเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดกับเราแล้ว บริษัทประกันก็จะชดเชยค่าความเสียหายให้ตามวงเงินที่ซื้อความคุ้มครองไว้ ซึ่งก็ยังดีกว่าเราต้องจ่ายเงินก้อนโต กับการที่ต้องฟื้นฟูให้ความเสียหายนั้น กลับมาดีเหมือนเดิมให้มากที่สุด

ซึ่งถ้าเราไม่ยอมเสียเงิน 10% นั้นก็เท่ากับว่า “เรายอมรับความเสี่ยงเองทั้งหมด” และ ต้องยอมรับผลที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาให้ได้อีกด้วย เพราะ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น เงินทั้งหมด 100% ก็คงหายไปทั้งหมดด้วย จริงมั้ยครับ

ดังนั้นแผนการเงินที่ปราศจากการทำประกันที่มากพอ (ทั้งเรื่องความคุ้มครองชีวิต ทรัพย์สิน สุขภาพ และโรคร้ายแรง) ก็เท่ากับว่าแผนการเงินนั้นยังมีสิทธิที่จะล้มเหลวได้

สุดท้ายนี้หวังว่าทุกๆท่านจะวางแผนการประกันด้วยไอเดียการจ่ายเงินเพียง 10% เพื่อรักษาเงินส่วนใหญ่ถึง 90% ของเรากันให้ได้นะครับ แล้วคุณจะเป็นคนนึงที่ได้ชื่อว่า มั่งคั่งอย่างยั่งยืนแน่นอนครับ

*** มุ่งให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพการเงินดี ***

สุรกิจ พิทักษ์ภากร
นักวางแผนการเงิน CFP CEO บริษัท เวลท์แพลนเนอร์ จำกัด

เงินผลประโยชน์ค้างจ่าย

เรื่องน่ารู้ เงินผลประโยชน์ค้างจ่าย
ตามปกติเมื่อมีเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ค้างจ่าย เช่น เงินครบกำหนดสัญญา บริษัทประกันฯ จะมีการแจ้งให้ลูกค้าทราบ ซึ่งบางกรณี ผู้เอาประกันชีวิต ประกันภัยมีการย้ายที่อยู่แล้วไม่แจ้งให้กับบริษัทประกันฯ ก็จะทำให้ไม่ได้รับข้อมูล ซึ่งเมื่อผู้เอาประกันไม่ได้รับเงินตามกำหนด และมีการค้างจ่ายเกินกว่า 10 ปี บริษัทประกันฯ ต้องส่งเงินเข้า กองทุนประกันชีวิต ที่ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของเจ้าหนี้ผู้เอาประกันด้านการประกันชีวิตและส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิตให้ยั่งยืน

ผู้เอาประกันสามารถติดต่อขอรับเงินผลประโยชน์ได้ที่ กองทุนประกันชีวิต แต่ต้องมีการยื่นเรื่อง และเอกสารหลักฐานต่างๆ ซึ่งจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้น

ดังนั้นตัวแทนประกันภัย ตัวแทนประกันชีวิตควรแนะนำให้ผู้เอาประกันดำเนินแก้ไขสถานที่ติดต่อทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชนืของผู้เอาประกันภัย

วันเสาร์

เพราะความแน่นอนของชีวิต คือความไม่แน่นอน

เพราะความแน่นอนของชีวิต คือความไม่แน่นอน
การทำประกันชีวิต คืออะไร การทำประกันชีวิต คือการชดเชยรายได้ให้กับผู้ทำประกันในกรณีที่เกิดความไม่แน่นอนขึ้นในชีวิต ซึ่งเป็นเหตุให้คุณต้องสูญเสียรายได้ ไม่ว่าจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพหรือเสียชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการออมทรัพย์ไว้เพื่ออนาคตอีกด้วย เพราะเมื่อครบกำหนดสัญญาก็จะได้รับเงินคืนพร้อมเงินปันผล

ทำไมต้องทำประกันชีวิต เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต การทำประกันชีวิตจะช่วยให้คุณ และคนที่คุณห่วงใยดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อน ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นในอนาคตก็ตาม

การทำประกันชีวิตมีประโยชนือย่างไร
  • ช่วยชดเชยรายได้ให้กับคุณ หรือครอบครัวในกรณีที่เจ็บป่วยทุพพลภาพ ชราภาพ หรือเสียชีวิต
  • เป็นการออมทรัพย์ไว้เพื่ออนาคต
  • เป็นหลักประกันคุ้มครองธุรกิจของผู้เอาประกันไว้ไม่ให้สูยหายในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ
  • เป็นการระดมเงินออมเพื่อนำไปลงทุนในการพัฒนาประเทศ
คุณเตรียมเงินสำรองชีวิตเอาไว้แล้วหรือยัง

เล่ห์อุบาย คนขายประกันชีวิต

เล่ห์อุบาย คนขายประกันชีวิต
1. รับเงินแล้วไม่นำส่งบริษัท ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น รับเงินโดยไม่ออกใบเสร็จรับเงิน หรือรับเงินโดยออกใบเสร๊จรับเงินปลอม
2. ทำเอกสารข้อเสนอที่ให้ผลประโยชน์เกินความเป็นจริงตามกรมธรรม์ ซึ่งเป้นเล่ห์กลที่คนขายประกันชีวิตบางคน จัดทำข้อเสนอขึ้นมาเอง เพื่อหลอกลวงให้ลูกค้าหลงเชื่อ แล้วตัดสินใจทำประกันชีวิต ประกันภัย โดยที่ความเป็นจริงแล้วกรมธรรม์ลูกค้า จะไม่ได้รับผลตอบแทนเช่นนั้นจริงๆ
3. พูดโกหก พกลมเพื่อให้ขายประกันภัยกับลูกค้าได้ เช่น วิธีการหลอกล่อของทางธนาคาร เจ้าหน้าที่ธนาคารมักพูดให้ประชาชนสำคัญผิดว่าเป็นบริการอื่นๆของธนาคาร(เช่นเงินฝาก ฯ)  แต่พูดออกแนวว่ามันคือเงินฝากที่แถมประกัน มีดอกเบี้ยให้เหมือนฝากประกัน
4. ไม่แจ้งข้อมูลที่แท้จริงของลูกค้า ทำให้สัญญาไม่สมบูรณ์ ซึ่งสัญญาประกันชีวิต เป็นสัญญาที่งดเว้นความรับผิดชอบ จากกรณีที่ลูกค้าปกปิด หรือแถลงความอันเป็นเท็จในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ อันเป็นผลให้สัญญาเป็นโมฆียะ ซึ่งบริษัทประกันภัย ประกันชีวิตมีสิทธิ์ในการบอกล้างสัญญาได้ภายในระยะเวลา 2 ปี
5. ปลอมแปลงเอกสารของบริษัท หรือเอกสารของลูกค้า

คำแนะนำ
1. ขอหลักฐานการชำระเงินจากตัวแทนประกันชีวิตทุกครั้ง หรือการส่งเงินโดยตรงเข้าบริษัทประกันชีวิตเลย
2. ตรวจสอบกรมธรรม์ก่อนรับมอบเสมอ ดูข้อความที่เป็นส่วนสำคัญในกรมธรรม์ว่าตรงกับที่ตัวแทนประกันชีวิตแจ้งไว้หรือไม่
3. สามารถใช้สิทธิ์ Free Lock ลูกค้ามีเวลาในการตรวจสอบความถูกต้องของกรมธรรม์ 15 วัน นับจากวันลงนามรับมอบกรมธรรม์ หากไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือไม่พอใจส่วนหนึ่ง ส่วนใดในสัญญา ลูกค้ามีสิทธิ์ในการบอกเลิกสัญญาได้ภายในระยะเวลา 15 วันนั้น โดยส่งกรมธรรม์คืนพร้อมแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกกรมธรรม์
4. ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ โดยตรงกับบริษัทประกันชีวิต เทียบกับข้อมมูลจากตัวแทนประกันชีวิต

วันศุกร์

รู้จักประกันชีวิต

รู้จักประกันชีวิต ประกันชีวิตนั้นถือเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตเรามั่นคงเพื่อที่จะวางแผนให้กับอนาคตของตัวเอง และในปัจจุบันนี้ประกันชีวิตก็ไม่ได้มีราคาแพงเหมือนเมื่อก่อนและมีตัวเลือกให้เราได้เลือกสรรมากมาย วันนี้เรานำเคล็ดลับดีๆ มาแนะนำ เพื่อที่จะได้เลือกที่ทำประกันชีวิตให้เหมาะสมกับตัวของคุณ

ประกันชีวิตเป็นบริการอย่างหนึ่งที่ให้หลักประกันเป็นเงินลงทุน และบริการดูแลสุขภาพควบคู่กันไปด้วย ซึ่งมีมากมายหลายแพ็กเกจที่บริษัทประกันจะจัดโปรโมชั่นเพื่อให้เหมาะสมกับลูกค้า โดยปกติแล้วมันจะจัดประกันชีวิตให้รวมกับการประกันสุขภาพไปด้วย ซึ่งประกันชีวิตคุณจะได้เงินปันผลหรือไม่เงินคืนเมื่อกรมธรรพ์สิ้นสุดลง แต่ประกันสุขภาพก็เหมือนเงินกินเปล่าทุกๆ ปี แต่จะปลอดภัยและคุ้มค่าเมื่อคุณไม่สบาย

การประกันชีวิต เป้นการสร้างความมั่นคงทางการเงินอย่างหนึ่งให้กับผุ้ที่ทำประกัน หรือผู้เอาประกันภัย ด้วยการโอนความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิต และทรัพย์สินไปให้บริษัทประกันชีวิต โดยมีข้อกำหนดว่าผุ้ที่เอาประกันชีวิตจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทประกันชีวิตตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญา หรือที่เรารู้จักกันดีว่า กรมธรรม์ประกันชีวิต

บริษัทประกันชีวิตนั้นจะสัญญาว่าให้ ความคุ้มครอง ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ในการจ่ายเงินผลประโยชน์ที่มีตามกรมธรรม์ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์

สาเหตุที่เราต้องทำประกันภัย ประกันชีวิต เพราะการดำเนินชีวิตของเรามักมีความเสี่ยงเสมอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน การทำประกันชีวิตจึงเป็นการวางแผนทางการเงินเพื่อปกป้องความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง และครอบครัวได้

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำประกันชีวิต
1. เป็นการสร้างหลักประกัน เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่าชีวิต คือความไม่แน่นอน เรารู้อยู่แล้วว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยง หากคุณเป็นหัวหน้าครอบครัวคุรควรตระหนักว่า หากเกิดเหตุการณืไม่คาดฝันเกิดขึ้น ใครจะดุแลครอบครัวของคุณต่อไป หากมีการประกันภัยไว้ ก็จะมีเงินมาชดเชย หรือแบ่งเบาภาระความเดือดร้อนของครอบครัว
2. เป็นการวางแผนทางการเงินให้มีวินัย การทำประกันชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาระยะยาว ซึ่งในรูปแบบของประกันชีวิตส่วนใหญ่จะมีส่วนของการออมทรัพย์อยู่ด้วย เช่นการประกันไว้ให้มีทุนเลี้ยงชีพในวัยชรา สร้างมรดกเอาไว้ให้ครอบครัว หากมีการยกเลิกกรมธรรม์ระหว่างสัญญา เงินที่ผู้เอาประกันชีวิตได้รับคืนจะไม่เท่ากับเงินจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายให้กับบริษัท เพราะเบี้ยประกันส่วนหนึ่งถือเป็นการซื้อเพื่อความคุ้มครอง
3. เป็นการลงทุนที่ไม่สูญหายไปไหน   การลงทุนในประกันชีวิต ถือเป็นการลงทุนเพื่อให้ชีวิตได้รับความคุ้มครอง
4. มีประโยชน์ในการส่งเสริมธุรกิจ ในการทำธุรกิจนั้นไม่ว่าจะทำธุรกิจประเภทใดก้ตาม ต้องมีความคุ้มครอง ทั้งประกันวินาศภัย และประกันชีวิต เป็นการสร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับตัวธุรกิจของคุณเอง

ข้อควรรู้ก่อนที่คุณจะเลือกทำประกันชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นอีกทางเลือกของการออม และยังได้การประกันที่ดูแลคุณตลอดชีวิต ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ

วันอาทิตย์

ทำไมต้องทำประกันชีวิต

ทำไมต้องทำประกันชีวิต

ประกันชีวิตเป็นเรื่องจำเป็นที่สุด

Why? Insurance

รัตน์ ศรีรัตนบัลล์

มันไม่น่าจะอยู่ในความคิด หรือการจากไปก่อนเวลาอันสมควรของสมาชิกในครอบครัว แต่ด้วยระบบการประกันชีวิต ของบริษัทจะช่วยลดภาระของคนที่คุณรักในช่วงเวลาที่ยากต่อการทำใจ ซึ่งระบบประกันชีวิตให้การสนับสนุนทางการเงิน ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นของการดูแลสุขภาพในระยะยาวและบริการตามกรมธรรม์ที่ได้ทำไว้กับบริษัทประกันชีวิต

ถ้าหากจะกล่าวกันด้วยเหตุผลสามารถอธิบายได้ดังนี้ เพราะคนเราคือ ต้นเหตุของที่มาแห่งทรัพย์สินทุกอย่าง ทรัพย์สินทุกอย่างที่มีนั้นล้วนเกิดจากการสร้างของคนๆ หนึ่งแต่คนที่จะสร้างทรัพย์สินให้เกิดขึ้นได้ตามที่ต้องการ ก็ต้องมีเวลาเพียงพอที่จะค่อยๆ สร้างสินทรัพย์นั้น แม้กระนั้นก็ตามสินทรัพย์ที่แต่ละคนหาได้มาก็ไม่เท่าเทียมกัน สาเหตุเพราะความสามารถของแต่ละคนไม่เท่ากันนั้นเอง

คุณคงอยากถามว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับการประกันชีวิต ที่มันเกี่ยวก็เพราะคนๆ หนึ่งจะสร้างทรัพย์สินตามจำนวนที่ต้องการ มันต้องอาศัยเวลาเพื่ออำนวยโอกาสให้เขาสร้างทรัพย์สินตามที่กำหนดได้สำเร็จไม่ว่าจะเป็นกี่ล้านก็ตาม

ทุกคนก็มุ่งมั่นเพื่อจะสร้างหลักฐานสร้างทรัพย์สิน ตามความสามารถของตนแล้วคนที่มีเวลาและโอกาสเพียงพอทำงานทุ่มเทขยัน อนทนต่อสู้ หนักเอาเบาสู้ ในที่สุดเวลาและโอกาสเป็นของคนๆ นั้นความสำเร็จก็เกิดขึ้นกับเขาทรัพย์สินที่ตั้งเป้ามุ่งหวังไว้บรรลุความสำเร็จ ชื่นมื่นสมใจปรารถนาชีวิตมั่นคงดั่งที่ตั้งเป้าไว้ทุกประการ

แต่ท่านคงไม่ปฏิเสธว่าในสังคมทุกวันนี้ มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีชีวิตต้องหักเหจากเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยสิ้นเชิงชีวิตสิ้นหวังทุกอย่างๆ น่าสงสารเพราะมีคนจำนวนหนึ่งต้องกลายเป็นคนทุพพลภาพโดยสิ้นเชิง ความหวัง เป้าหมาย รายได้ไม่เหลืออีกต่อไปเพราะเขาได้กลายเป็นบุคคลทุพพลภาพช่วยตัวเองไม่ได้อีกแล้วสินทรัพย์ที่ตั้งใจที่ต้องเกิดจากความสามารถของเขา แม้มีเวลาอำนวยให้ก็ไร้ซึ่งความหมายอีกต่อไป คุณทราบไหมในกรณีเช่นนี้หากได้ทำประกันชีวิตเอาไว้เท่ามูลค่าสินทรัพย์ที่ตั้งเป้าไว้ สินทรัพย์นั้นก็จะเกิดขึ้นได้จริงทุกประการ

แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตั้งเป้าหมายชีวิตไว้อย่างสวยหรู บอกกับตัวเองว่าในชีวิตของเขาจะสร้างสินทรัพย์เป็นสิบๆล้าน ต่อมาไม่นานสิ่งที่เขาหวังสินทรัพย์นับสิบๆล้านก็ต้องมาอันตรธานไปโดยสิ้นเชิง เพราะเขาไม่มีโอกาสและเวลาอีกต่อไปที่จะได้อยู่ในโลกนี้เพื่อที่จะทำสิ่งที่เขาหวัง สร้างทรัพย์สินที่เขาตั้งเป้าหมายไว้คำที่กล่าวที่ว่า ความไม่แน่นอนคือความเป็นจริง จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่ตาย ในกรณีนี้หากเขาได้ทำประกันชีวิตไว้ สินทรัพย์ตามที่เขาตั้งเป้าไว้ก็จะเกิดขึ้นจริงๆ ตามที่ได้ตั้งความหวังไว้ แต่หากไม่ทำประกันชีวิตไว้เลยสิ่งที่จะได้รับก็คือ ความว่างเปล่า ความสูญเสียอย่างน่าเสียดายที่สุดของคนๆหนึ่งที่เกิดมาเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีค่าเลย ท่านที่อ่านบทความนี้จะเป็นตัวแทนหรือผู้คนทั่วไปก็ตาม ผมขอวิงวอนให้คุณได้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตสักหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นการรองรับชีวิตของคุณให้มีราคา คุณค่าที่สมกับคำว่า คุณ คือทรัพยากรธรรมชาติของโลก

เหตุผลสำคัญที่เราทุกคนควรจะมี กรมธรรม์ประกันชีวิตที่เป็นของเราเองโดยเฉพาะอย่างน้อยคนละ 1 กรมธรรม์เพราะกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถตอบสนองความจำเป็นทางการเงินที่แท้ จริง ( FINANCIAL NEEDS ) ของเราดังต่อไปนี้ได้ :- อาทิ

1. หลักประกันทางการเงินของครอบครัว
2. คุ้มครองค่าความสามารถพิเศษเฉพาะตัว
3. ทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีทุพพลภาพถาวร
4. ทุนการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นสูงสุดของบุตรแต่ละคน
5. คุ้มครองวงเงินสินเชื่อ OD / หนี้สินระยะสั้น / หนี้สินระยะยาว
6. การสะสมทรัพย์พร้อมรับผลตอบแทนทางการเงินโดยไม่มีความเสี่ยง
7. สร้างสวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมให้กับตนเองและสมาชิกอื่นๆ ในครอบครัว
8. ทุนสำรองสำหรับการรักษาโรคร้ายแรงต่อเนื่องโดยเฉพาะ
9. ทุนสำรองไว้ใช้หลังวัยเกษียณอายุ
10. เงินบำนาญตลอดชีพ

เลือกแบบประกันก่อนตัดสินใจ

คนเรามีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเป็นอยู่ อาชีพ รายได้ อายุ และอีกมากมายหลายอย่าง ซึ่งบริษัทประกันชีวิตก็ทราบถึงความแตกต่างนี้ดี ดังนั้นบริษัทจึงมีรูปแบบประกันชีวิตหลายชนิดให้เลือกทำ ตามผลประโยชน์และความคุ้มครองที่ต้องการอย่างเหมาะสม เช่น แบบสะสมทรัพย์ แบบเงินได้ประจำ แบบชั่วระยะเวลา ไม่ว่าจะเลือกทำประกันชีวิตแบบใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือความเข้าใจระบบประกันชีวิต ว่าให้ความคุ้มครองในเรื่องใดบ้าง เงื่อนไขการชำระเบี้ยประกันเป็นอย่างไร รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการทำประกัน

แล้วการทำประกันชีวิตก็จะเป็นการให้ความคุ้มครองอย่างแท้จริง

ประกันชีวิตขายให้กับคนทุกระดับชั้น

คนทุกระดับชั้นต้องการปัจจัย 4 (อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) และปัจจัยที่ 5 คือการศึกษาของลูก รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ท่องเที่ยว ฯลฯ การประกันชีวิตจะช่วยให้ครอบครัวเหล่านี้คงสภาพการดำรงชีวิตเหมือนปกติ หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีกิน และนี่คือกลุ่มสังคมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

สำหรับคนที่ร่ำรวย มีชื่อเสียงมียศศักดิ์ในสังคมก็จะยิ่งมีความต้องการมากขึ้นไปอีก Basic Need และสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่พอ เขาต้องการความมั่นคงในอนาคต เขาต้องการรักษาสถานภาพให้คงนานที่สุด สำหรับกลุ่มนี้เป็นกลุ่มพิเศษที่มีความต้องการสูงและมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ต้องการรักษาชื่อเสียง เกียรติภูมิ ความร่ำรวย ความผาสุข ความมั่นคงให้อยู่กับลูกหลานนานๆ ดังนั้น การประกันชีวิตก็จะเข้าไปช่วยทำให้ความปราถนานี้เป็นความจริง 

การประกันชีวิตไม่ใช่ประกันแล้วไม่ตาย หรือประกันแล้วอายุยืน แต่ประกันชีวิตคือ

- การประกันรายได้ ... ถ้าหัวหน้าครอบครัวจากไป รายได้ยังคงอยู่ให้ลูกเมีย
- การประกันรายจ่าย ... รับรองว่ามีเงินใช้จ่ายในครอบครัว แม้หัวหน้าครอบครัวจากไป
- การประกันอุบัติเหตุ ... เกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งมนุษย์หลีกหนีไม่พ้น (ทั้งอุบัติเหตุ เจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล มีเงินรักษา)
- การประกันการศึกษา ... บุตร ธิดาได้เรียนจบแม้พ่อแม่จะจากไปก่อน
- การออมทรัพย์ ... ไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินในบั้นปลายของชีวิต ไม่เก็บก้ไม่เหลือ ลืมเก็บก็ลืมเหลือ
- การลงทุน ... ที่ไม่เสี่ยงภัย ได้คืนตามกำหนดแน่นอนแถมความคุ้มครองชีวิต
- การประกันความสามารถ ... กว่าจะมีความสามารถเช่นวันนี้ (30-40 ปี) ก็ผ่านกาลเวลามามาก อยู่ๆ ความสามารถก็หายไป(ตาย) ประกันชีวิตก็จะเข้ามาแทนที่เอาความสามารถ (รายได้ยามมีชีวิตอยู่) กลับคืนมาส่งมอบให้ครอบครัว

บริษัทประกันชีวิต

 ทำเนียบบริษัทประกันชีวิต และที่ตั้งสำนักงานใหญ่

ลำดับ

ชื่อบริษัท / Companies

สถานที่ตั้ง

 
1
บจ. กรุงเทพประกันชีวิต

Bangkok Life Assurance Co.,Ltd

23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว 21 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ
เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทร. 0-2203-0055, 0-2641-5599
โทรสาร. 0-2203-0044, 0-2641-5566
เว็ปไซต์ :
http://www.bla.co.th

2
บจ. กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต

Krungthai-Axa Life Insurance Co.,Ltd

87/1 แคปปิตอล ทาวเวอร์ ชั้น 24-25
ออลซีซั่นส์ เพลส
ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2654-3150
โทรสาร. 0-2654-3140
เว็ปไซต์ :
http://www.krungthai-axa.co.th

3
บจ. บางกอก สหประกันชีวิต

BUI Life Insurance Co., Ltd.

177/1 อาคารบางกอกสหประกันภัย
ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
กรุงเทพฯ 10500
โทร. 0-2634-7323-30
โทรสาร. 0-2634-7331
เว็ปไซต์ : http://www.deves.co.th/life/BUILifeInsurance.asp
 
4
บมจ. มิลเลียไลฟ์ อินชัวรันส์ (ประเทศไทย)

Millea Life Insurance (Thailand) Public Co., Ltd.

195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 26
ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร
กรุงเทพฯ 10120
โทร. 0-2670-1400
โทรสาร. 0-2670-1403-5
เว็ปไซต์ :
http://www.millealife.co.th

5
บจ. ไทยประกันชีวิต

Thai Life Insurance Co., Ltd.

123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
 

 
6
บจ. ฟินันซ่าประกันชีวิต

Finansa Life Assurance Co., Ltd.

388 อาคาร จีดี ทาวเวอร์ ชั้น G, 18, 19
และชั้น 23 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม
เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร. 0-2632-5000
โทรสาร. 0-2632-5500
เว็ปไซต์ :
http://www.finansalife.com
 
7
บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

Siam Commercial New york Life Insurance Public Co., Ltd.

1060 อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์
ชั้น 4-10 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0-2655-3000
โทรสาร. 0-2256-1666
เว็ปไซต์ :
http://www.scnyl.com

8
บจ. ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต

Thai Cardif Life Assurance Co., Ltd.

36/11, 36/59-62 อาคารพี เอส ทาวเวอร์
ชั้น G และชั้น 18 ถนนสุขุมวิท 21
คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทร. 0-2645-5800
โทรสาร. 0-2645-8585
เว็ปไซต์ : http://www.thaicardif.com/

 
9
บจ. ไทยรีประกันชีวิต

ThaiRe Life Assurance Co., Ltd.

223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2256-6822, 0-2651-4222
โทรสาร. 0-2256-6565, 0-256-6832
เว็ปไซต์ :
http://www.thaire.co.th

10
บจ. ไทยสมุทรประกันชีวิต

Ocean Life Insurance Co., Ltd.

170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1
ชั้น 24-28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. : 0-2261-3345-55
โทรสาร : 0-2261-3344
เว็บไซต์ :
http://www.oli.co.th

11
บจ. ธนชาติประกันชีวิต

Thanachart Life Assurance Co., Ltd.

231 อาคารธนชาติประกันฃีวิต
ถนนราชดำริห์ แขวงลุ่มพินี
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. : 0-2207-4200
โทรสาร : 0-2253-8484

12
บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต

Ayudhya Allianz C.P. Life Public Company Limited

898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 6 โซน A,
ชั้น 16-18 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. : 0-2305-7000
โทรสาร : 0-2263-0313
เว็บไซต์ :
http://www.aacp.co.th


13
บจ. เจเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

Generali Life Assurance (Thailand) Co.,Ltd.

87/2 ยูนิต 1603-5 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์
ออลซีซั่นส์ เพลส ชั้น 16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. : 0-2685-3828
โทรสาร : 0-2685-3829
เว็บไซต์ :
http://www.generali.co.th

 
14
บมจ. พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต

Prudential TSLife Assurance Public Co.,Ltd.

82 ชั้น 30-32 อาคารแสงทองธานี
ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก
กรุงเทพฯ 10500
โทร. : 0-2639-9500
โทรสาร : 0-2639-9699, 0-2639-9700
เว็บไซต์ :
http://www.prudential.co.th
อีเมล์:
customer@prudential.co.th
 
15
บจ. เมืองไทยประกันชีวิต

Muang Thai Life Assurance Co., Ltd.

250 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทร. : 0-2276-1025, 0-2274-9400
โทรสาร : 0-2276-1997 - 8
เว็ปไซต์ :
http://www.muangthai.co.th


16
บจ. เอช ไลฟ์ แอสชัวรันส์

ACE Life Assurance Co., Ltd.

130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1
ชั้น 11 และชั้น 12 ถนนวิทยุ
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
โทร. : 0-2675-3800
โทรสาร : 0-2675-3818
 
17

บจ. ประกันชีวิต นครหลวงไทย

(SIAM ASSURANCE COMPANY LIMITED)

(ชื่อเดิม : บจ. แมกซ์ประกันชีวิต
Max Life Assurance Co., Ltd.)

169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย
สาขาสุทธิสาร ชั้น 3-6
ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร. : 0-2616-2324
โทรสาร : 0-2616-2343
เวปไซด์ :
http://www.maxlife.co.th

18
บจ. สยามซัมซุง ประกันชีวิต

Siam Samsung Life Assurance Co., Ltd.

2922/240-241 อาคารชาญอิสระ 2
ชั้น 18 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310
โทร. : 0-2308-2261-68
โทรสาร : 0-2308-2269
เว็บไซต์ :
http://www.siamsamsung.co.th

19
บจ. สยามประกันชีวิต

Siam Life Insurance Co., Ltd

75/72-73 ซอยสุขุมวิท 19 (วัฒนา)
ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
กรุงเทพฯ 10110
โทร. : 0-2260-5536 - 43,
0-2260-5548-49
โทรสาร : 0-2260-5561
เว็ปไซต์ :
http://www.siamlife.co.th
อีเมล์ :
mail@siamlife.co.th

20
บจ. สหประกันชีวิต

Saha Life Insurance Co., Ltd.

13 ชั้น 2 อาคาร น.ม.ส. ถนนพิชัย
แขวงดุสิต เขตดุสิต
กรุงเทพฯ 10300
โทร. : 0-2669-3243-49
โทรสาร : 0-2669-3252
เว็ปไซต์ :
http://www.sahalife.co.th


21
บจ. อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์

American International Assurance Co., Ltd.

181 ถนนสุรวงศ์ แขวงบางรัก
เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร. : 0-2634-8888
โทรสาร : 0-2236-6452
Website :
http://www.aia.co.th
 
22
บจ. อาคเนย์ประกันชีวิต

The SouthEast Life Insurance Co., Ltd.

315 ถนนสีลม แขวงสีลม
เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร. : 0-2631-1331,
0-2237-7470 - 9
โทรสาร : 0-2236-7614,
0-2237-7499
Website :
http://www.southeastlife.com

23
บมจ. แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย)

Manulife Insurance (Thailand) Public Co., Ltd.

(ชื่อเดิม : บมจ. อินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค ประกันชีวิต)

364/30 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. : 0-2245-2491 - 7,
0-2246-7650 - 99
โทรสาร : 0-2248-5391
เว็ปไซต์ :
http://www.manulife.co.th/

24
บจ. แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์

Advance Life Assurance Co., Ltd.

2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5
ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
โทร. : 0-2648-3600
โทรสาร : 0-2648-5555
เว็ปไซต์ :
www.alife.co.th

25
บจ. ไอเอ็นจีประกันชีวิต

ING Life Assurance Co., Ltd.

130-132 อาคารสินธรทาวเวอร์ 3
ชั้น 16 และ ชั้น 29 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. : 0-2263-3900,
0-2650-9889
โทรสาร : 0-2263-3899
เว็ปไซต์ :
http://www.inglife.co.th

อาชีพตัวแทนประกันชีวิต

การเจริญเติบโต

อาชีพตัวแทนประกันชีวิต

Insurance Sales Agents
อาชีพตัวแทนประกันชีวิต มิใช่เป็นเพียงอาชีพเพื่อหวังผลตอบแทนเท่านั้น แต่จะเป็นผู้ที่เผยแพร่ความรู้และความจำเป็นของการซื้อประกันชีวิตตลอดจนเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับบุคคลทั้งหลาย ดังนั้นอาชีพตัวแทนจึงเป็นอาชีพที่ต้องเสียสละทุ่มเท และมุ่งหวังให้ทุกคนมีหลักประกันเพื่อความแน่นอนของชีวิต
แต่ก่อนที่ทุกคนจะก้าวเข้าสู่การเป็นตัวแทน จะต้องถามตัวเองก่อนว่า
  • คุณเป็นตัวแทนได้ไหม
  • คุณชอบงานท้าทายหรือไม่
  • คุณชอบพบปะผู้คนหรือไม่
  • คุณมีแรงมุมานะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายหรือไม่
  • คุณมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นในเวลาอันรวดเร็วหรือไม่
ท่านจะได้อะไรจากการมีอาชีพเป็นตัวแทนประกันชีวิต
  1. ไม่มีขีดจำกัดของรายได้
    งานในอาชีพนี้สามารถเพิ่มพูนรายได้ให้กับท่านอย่างงดงามไม่แพ้อาชีพอื่น หรือดีกว่ามากๆ ด้วยซ้ำ เพราะรายได้จากการขายประกันชีวิตไม่มีเพดานจำกัด ไม่มีทางตันเหมือนบางอาชีพ เมื่อใดที่ท่านทำยอดขายได้มากกว่า รายได้ของท่านก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
  2. มีรายได้วนเวียน
    อาชีพงานขายประกันชีวิต เป็นงานขายประเภทเดียวที่จะมอบค่าตอบแทนจากผลงานขายให้แก่ตัวแทนซ้ำอยู่เรื่อยๆ ตัวแทนจะได้รับค่าตอบแทนจากผลงานในลูกค้า 1 รายต่อเนื่องไปทุกปีจนครบกำหนดสัญญาประกันชีวิต ซึ่งอาจจะเป็น 10 ปี, 15 ปี, 20 ปี หรือยาวนานกว่านั้น
  3. มีจำนวนลูกค้ามากมายให้เสนอขาย
    คนที่เข้ามาสู่อาชีพตัวแทนประกันชีวิต จะไม่พบกับเหตุการณ์ ขาดลูกค้า หรือลูกค้าหมดตลาด เพราะลูกค้าในงานขายประกันมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง อาจจะอยู่หน้าบ้านของท่าน หรือหลังบ้านของท่าน ข้างๆ บ้าน ในที่ทำงานเดียวกับท่าน หรือแม้แต่ในบ้านของท่านเองก้มีลูกค้า
  4. ไม่มีขีดคั่นเรื่องอายุ
    ไม่มีใครแก่เกินงานขายประกัน เพราะอาชีพนี้ไม่มีการปลดเกษียณอายุงาน หากท่านใจสู้และยังมีพละกำลังที่จะทำงานบริการต้องการเพิ่มคุณค่าให้กับชีวิตตนเอง ถนนคนขายประกันชีวิตสายนี้ยังมีที่ว่างให้ท่านร่วมเดิน
  5. เป็นอาชีพที่มีความกว้างขวาง
    งานในอาชีพนี้จะทำให้ท่านได้พบปะ พูดคุยกับผู้คนมากหน้าหลายตา ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทัศนคติ และเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่รอบตัวตลอดเวลาดังคำกล่าวที่ว่า พบคน 12 คน เหมือนได้อ่า่นตำรา 1 เล่ม
  6. เป็นอาชีพที่มีความก้าวหน้า
    อาชีพตัวแทนมีโอกาสที่จะก้าวหน้าได้เหมือนกับอาชีพอื่นๆ ผู้บริหารหลายคนก็เคยเริ่มต้นจากเป็นตัวแทนมาก่อน ตำแหน่งผู้จัดการสาขา หรือตำแหน่งทางฝ่ายบริหารอีกหลายๆ ตำแหน่งในสำนักงานใหญ่ยังรอคอยความสามารถจากท่านอยู่
  7. เป็นงานที่อิสระ
    งานขายประกันเป็นงานที่จะเกิดผลงอกงามสำหรับผู้ที่รักความอิสระ ไม่มีกำหนดเวลาเข้าพัก หรือเลิกงาน ตัวท่านเองเป็นเสมือนที่ทำงานเคลื่อนที่ และเป็นผู้กำหนดวันเวลาทำงานของตนเอง
  8. ไม่ต้องใช้เงินทุน
    อาชีพตัวแทนประกันชีวิตไม่ต้องใช้เงินลงทุน ไม่ต้องมีเงินสำรอง เรื่องการขาดทุนจึงไม่มีในงานขายประกัน เพราะการลงทุนในอาชีพนี้มิใช่ตัวเงิน แต่เป็นการทุ่มเทเวลา และความอดทน ความพยายามของตัวแทนเองต่องานขาย
  9. มีรายได้ในขณะเรียนรู้งาน
    เมื่อท่านเข้ามาจับอาชีพนี้ช่องทางการหารายได้ของท่านเกิดขึ้นทันที แม้ว่าจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฝึกอบรม หรือเรียนรู้งานก็ตาม ไม่ต้องรอให้จบหลักสูตรเหมือนการประกอบอาชีพอื่นที่ต้องใช้เวลาร่ำเรียนถึง 4-5 ปี
  10. เป็นอาชีพที่มีเกียรติ
    ไม่มีกุศลใดยิ่งใหญ่ไปกว่าการเป็น ผู้ให้ พึงระลึกว่าเมื่อท่านเข้ามาสู่อาชีพขายประกันชีวิต นั่นคือท่านกำลังจะทำกุศลอันยิ่งใหญ่ให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เหตุนี้เองจึงมีคำกล่าวขานให้กับตัวแทนขายประกันว่าเปรียบเสมือน พ่อพระ

การประกันชีวิต

การประกันชีวิตการประกันชีวิต (Insurance)

source: วิโรจน์ ว่องประเสริฐ

Insurance แปลเป็นภาษาไทยว่า การประกันชีวิต ผู้บัญญัติคำว่าประกันชีวิตเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสาธยายว่าประกันชีวิตมาจาก

ประ    ประหยัด
กัน      กันความยากจน
ชีวิต   ชีวิตผาสุก

ซึ่งพูดรวมฯ ว่าประหยัดเพื่อกันความยากจน ทำให้ชีวิตมีความผาสุก แต่เนื่องจากต้องการเขียนให้กระทัดรัดก็เลยใช้คำว่า ประกันชีวิต แต่นักขายประกันชีวิตไม่น้อย ที่อธิบายคำว่าประกันชีวิตไปต่างๆ นานา

- การออมทรัพย์ที่มีความคุ้มครองของยอดเงินฝาก การออมทรัพย์ระยะยาวเพื่อเป็นกองมรดก
- การซื้อเงินก้อนโตโดยระบบเงินผ่อนส่ง
- การสร้างทุนการศึกษา
- การสร้างสวัสดิการให้ครอบครัว
- การสร้างบำเหน็จบำนาญในวัยชราให้กับตนเอง
- การสร้างความมั่นคงทางรายได้

แต่จะอธิบายอย่างไรก็เรียกว่า การประกันชีวิต อยู่ดีชวนคนมาฝากเงิน แต่เวลาพูดก็ใช้คำว่า ขายประกันชีวิต อยู่ดีชวนคนมาฝากเงิน แต่เวลาพูดก็ใช้คำว่า ขายประกันชีวิต
เงินฝาก ก็เรียกว่า เบี้ยประกันชีวิต
เก็บเงินฝาก หรือให้ออมเงินก็เรียกว่า ชำระเบี้ยประกันภัย เวลาครบกำหนดเก็บ มีหนังสือไปชวนเชิญให้ฝากต่อ ก็ใช้คำว่า เตือนการชำระเบี้ยประกันภัย
ผู้ฝากเงิน ก็เรียกว่า ผู้เอาประกันภัย
ผู้รับฝากเงิน ก็เรียกว่า ผู้รับประกันภัย

อ่านหรือฟังดูแล้วไม่ชวนเชิญให้น่าสนใจและต้องมาเสียเวลาสาธยายกับความหมายของคำว่าประกันชีวิต เช่น ชีวิตประกันไม่ได้หรอกแต่เป็นการประกันค่าของชีวิต หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นหากชีวิตมีอันเป็นไป

บางคนถึงกับปฏิเสธที่จะทำประกันชีวิต บอกว่าเหมือนเป็นลางร้ายของชีวิตการแช่งตนเองเพราะคำว่าประกันชีวิตนี่เอง

แต่คำว่า ประกันชีวิต ก็ใช้กันมานานแล้ว นานเกินกว่าที่จะคิดแก้ไขได้ และคนในวงการประกันชีวิตก็เคยชินต่อคำอธิบายประกอบเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจถูกต้องชัดเจน

บางคนบอกว่า เวลาไปขายประกันชีวิตจะปฏิเสธแต่แรกเลยว่า "ผมจะไม่มาพูดเรื่องประกันชีวิตกับลูกค้าแต่ผมจะมาชวนดูแลลูกค้า วางแผนค่าใช้จ่ายในวัยชราเกษียณอายุ และสุดท้ายปลดภาระหนี้สิน" ซึ่งฟังๆ ดูแล้วก็ชวนฟังกว่าที่จะพูดว่า "ผมจะมาพูดเรื่องประกันชีวิต"

ตามที่ทราบกันว่า ประกันชีวิต เป็นการฝากออมทรัพย์อย่างเป็นระบบ และมีสวัสดิการคุ้มครองให้แก่ผู้ฝาก ดังนั้นคนที่ไปหาประกันชีวิต ก็คือผู้ที่ไปชวนให้เปิดบัญชีฝากเงินกับบริษัทประกันชีวิต

คนขายประกันชีวิต ภาษากฏหมายก็เรียกว่า ตัวแทน ซึ่งแปลงมาจาก ผู้แทน เพราะกลัวว่าจะไปอ้างอิงใกล้เคียงกับการเรียก ผู้แทนราษฎร คำว่า ตัวแทน ไม่น่าฟังเท่าคำว่า ผู้แทน บางกลุ่มก็เรียกตนเองว่า พวกเราคือคนประกันชีวิต ตัดคำว่าขายออกไป หลายคนเวลาพิมพ์นามบัตร ก็ใช้คำว่า ที่ปรึกษาบ้าง หรือผู้แนะนำบ้าง เช่น ที่ปรึกษาโครงการการศึกษาของบุตรธิดา ที่ปรึกษาโครงการออมเงินเดือน ที่ปร฿กษาโครงการกองทุนเกษียณอายุ

จึงมีความเห็นว่า ไม่ต้องไปหาอะไรมาเปลี่ยนแปลงคำเรียก แต่ให้โลกรับรู้ว่านี่แหละคนขายประกันชีวิต นี่แหละประกันชีวิต และพยายามสร้างภาพพจน์ที่ดีจากคนที่อยู่ในอาชีพให้ปรากฏออกไป เป็นการสร้างภาพลักษณ์

ประกันชีวิตมีประโยชน์

ประกันชีวิต

ประกันชีวิตมีประโยชน์ อย่างไร

1. ประกันชีวิตช่วยสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัย และครอบครัว อาทิ หากผู้นำครอบครัวทำประกันชีวิตไว้แล้วเกิดเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เงินประกันชีวิตที่ได้รับจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของครอบครัวได้ระยะหนึ่ง หรือหากทำประกันชีวิตเพื่อการศึกษาของลูกไว้ ลูกก็จะมีเงินใช้จ่ายเพื่อการศึกษาได้ต่อไป

2. ประกันชีวิตช่วยให้เกิด การออมทรัพย์ อย่างมีวินัย และต่อเนื่อง เพราะการประกันชีวิตเป็นสัญญาระยะยาว และผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายเงินเบี้ยประกันภัยเป็นรายงวด บางรูปแบบของการประกันชีวิตจะมีส่วนของการออมทรัพย์อยู่ด้วย แต่จะไม่เหมือนกับการฝากเงินไว้กับธนสคาร เนื่องจากการทำประกันชีวิตเป็นการซื้อความคุ้มครองเป็นหลัก

ดังนั้น หากมีการยกเลิกกรมธรรม์ในปีใดก็ตาม ระหว่างอนุสัญญา เงินที่ผู้เอาประกันภัยไดเรับคืนจะไม่เท่ากับจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยที่จ่ายให้บริษัท เพราะส่วนหนึ่งต้องจ่ายเป็นเงินค่าซื้อความคุ้มครอง ส่วนดีก็คือ หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายใต้เงือนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินผลประโยชน์ตามจำนวนเงินเอาประกันภัย ซึ่งมากกว่าจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายบริษัทไปแล้ว

3. การประกันชีวิตเป็นการระดมเงินทุนในรูปของเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งบริษัทสามารถนำไปลงทุนประกอบธุรกิจอื่นได้ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงิน การจ้่างงาน และนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศ นอกจากนั้น ผู้เอาประกันภัยยังสามารถนำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต สำหรับกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัยไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณหักภาษีเงินได้ไม่เกิน 100,000 บาท

รูปแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิต

กรมธรรม์ประกันชีวิตกรมธรรม์ประกันชีวิต

รูปแบบของกรมธรรม์ จะมีหลายรูปแบบและตั้งชื่อเป็นนามเฉพาะของแต่ละบริษัท ทุกรูปแบบพร้อมอัตราเบี้ยประกันภัยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ประกันชีวิต (อธิบดีกรมการประกันภัย) ก่อนจะนำเสนอขายแก่ประชาชน แต่โดยหลักวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นกรมธรรม์รูปแบบใดหรือชื่ออะไรก็ตาม จะอยู่ภายใต้แบบของการประกันชีวิตรวม 4 แบบคือ

1. แบบชั่วระยะเวลา ให้ความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ผู้รับประโยชน์ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้นั้น

2. แบบตลอดชีพ บริษัทจะจ่ายเงินตามจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ไม่ว่าจะเสียชีวิตเมื่อใดก็ตาม

** ทั้งแบบ 1 และแบบ 2 เป็นการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตแล้วเท่านั้น

3. แบบสะสมทรัพย์ บริษัท จะจ่ายเงินตามจำนวนที่เอาประกันภัยไว้ ให้แก่ผู้รับประโยชน์ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่มีชีวิตอยู่รอด พ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้

4. แบบเงินได้ประจำ บริษัทจะจ่ายเงินได้ประจำ หรือเงินบำนาญให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตาม
ปกติเนื่องจากความชรา ไปจนถึงวันที่กำหนดไว้ (อาจเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือตลอดอายุก็ได้)

** แบบ 3 ส่วนท้าย และแบบ 4 เป็นการจ่ายเงินโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เอาประกันภัยต้องมีชีวิตรอดอยู่จนพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้

แบบประกันชีวิต

แบบประกันชีวิตมีให้เลือกกี่แบบแบบประกันชีวิตมีให้เลือกกี่แบบ

ทุกวันนี้ กรมธรรม์ประกันชีวิตที่ถือว่าเป็นแบบมาตราฐานมีอยู่ 4 แบบคือ

แบบสะสมทรัพย์ คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้ เอาประกันภัยใน 2 เงื่อนไขด้วยกันคือ เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาเอาประกันภัยก่อนวันครบกำหนด สัญญา

ตัวอย่าง ผู้เอาประกันภัยซื้อประกันชีวิตเมื่ออายุ 40 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท กำหนดอายุสัญญา 20 ปี (กรมธรรม์สิ้นสุดเมื่อผู้เอาประกันภัยอายุ 60 ปี) ภายใต้เงื่อนไข หากผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 60 ปี บริษัทจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ผู้รับผลประโยชน์ จำนวน 200,000 บาท

แบบตลอดชีพ คือ สัญญาประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยตลอดชีวิต โดยบริษัทประกันชีวิตจะต้องจ่ายเงินจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือในกรณีพิเศษที่ผู้เอาประกันภัยมีชีวิตยืนยาวจนถึง 99 ปี บริษัทประกันชีวิตจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย

แบบชั่วระยะเวลา คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้ รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาเอาประกันภัย เช่น ผู้เอาประกันภัยอายุ 40 ปี ทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา กำหนด 10 ปี ต่อมาปรากฎว่าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่ออายุ 45 ปี ซึ่งยังอยู่ในอายุสัญญา บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ แต่หากผู้เอาประกันภัยมีอายุครบกำหนดสัญญาแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับเงินคืนจากบริษัท

แบบเงินได้ประจำ คือ สัญญาประกันชีวิตที่ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินงวดเท่าๆ กันทุกเดือน ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตลอดชีพ หรือในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 10 ปี หรือ 20 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย การที่ประกันชีวิตมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายแบบ ทำให้บางแบบของการประกันชีวิต นอกจากจะให้ความคุ้มครองแล้ว ยังมีส่วนของการออมทรัพย์รวมอยู่ด้วย เช่น แบบตลอดชีพ และแบบสะสมทรัพย์ แต่ในการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิตจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายด้วย จึงขออธิบายให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายในส่วนของความคุ้มครอง และส่วนของการออมทรัพย์ดังนี้

การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 20/20 เป็นแบบที่มีการจ่ายเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต หรือมีชีวิตอยู่รอดเมื่อกรมธรรม์ประกันภัยครบกำหนดสัญญา โดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 20 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 20 ปี ผู้เอาประกันภัย อายุ 35 ปี เพศชาย จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท จำนวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยต้องชำระ 4,525 บาท จะ เห็นว่า แบบสะสมทรัพย์ 20/20 เบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยชำระให้บริษัทจำนวน 4,525 บาท จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนของค่าใช้จ่าย 1,225 บาท คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 27.07% ส่วนการคุ้มครอง 740 บาท คิดเ้ป็นสัดส่วนเท่ากับ 16.35% และส่วนของการออมทรัพย์ 2,560 บาท คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 56.58%

ส่วนการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 21/21 เป็นแบบที่มีการจ่ายเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต หรือมีชีวิตอยู่รอดเมื่อกรมธรรม์ประกันภัยครบกำหนดสัญญษ และมีการจ่ายเงินคืน 10% ทุก 3 ปี โดยมีระยะเวลา เอาประกันภัย 21 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 21 ปี ผู้เอาประกันภัยอายุ 35 ปี เพศชาย จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท จำนวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยต้องชำระ 7,544 บาท จะ เห็นว่า แบบประกันสะสมทรัพย์ 21/21 เบี้ยประกันภัย ที่ผู้เอาประกันภัยชำระให้บริษัทจำนวน 7,544 บาทนั้น เป็นส่วนของค่าใช้จ่าย 1,707 บาท คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 22.63% ส่วนของการคุ้มครอง 757 บาท คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 10.03% และส่วนของการออมทรัพย์ 5,080 บาท คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 67.34% สังเกต ได้ว่า หากแบบประกันชีวิตที่มีส่วนของการออมทรัพย์สูง เช่น แบบสะสมทรัพย์ 21/21 ส่งผลให้จำนวนเบี้ยประกันภัยสูงกว่าแบบสะสมทรัพย์ 20/20 ตามไปด้วย ซึ่งเป็นผลจากจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายมีจำนวนที่มากกว่า จึงมีเงินเหลือเป็นเงินออมมากกว่า

การประกันชีวิตเพื่อผู้เยาว์

การประกันชีวิตเพื่อผู้เยาว์ประกันชีวิตเด็ก ของขวัญล้ำค่าเพื่อการศึกษาของลูกรัก

เป็นการประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์ไว้เป็นทุนการศึกษาของผู้เยาว์ บุตรซึ่งยังอยู่ในวัยศึกษาหากผู้ปกครองไม่เตรียมการไว้ เมื่อเสียชีวิตลงบุตรอาจต้องหยุดเรียนกลางคัน ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมการเพื่ออนาคตของบุตรและเป็นการสะสมเงินทุนเพื่อการศึกษาของบุตร การศึกษานั้นเป็นรากฐานที่ดีสำหรับทุกคน โดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งเป็นเยาวะชนของชาติ ดังนั้นผู้ปกครองหลายคนจึงพยายามสะสมทรัพย์ เพื่อนำมาเป็นทุนการศึกษาสำหรับบุตรหลาน ซึ่งการทำประกันชีวิตเพื่อผู้เยาว์เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง เนื่องจากผู้ปกครองสามารถทำประกันชีวิตให้บุตรหลานได้โดยผู้ปกครองเป็นผู้ ชำระเบี้ยประกันแทนให้ กรมธรรม์ชนิดนี้จะคุ้มครองผู้เยาว์จนถึงอายุ 25 ปี และระยะเวลาของสัญญาจะเริ่มระหว่างอายุของบุตรตั้งแต่ทำสัญญาจนถึงอายุ 25 ปี ซึ่งตรงกับวัยที่เรียนจบมหาวิทยาลัย และยังให้ความคุ้มครองผู้ปกครองอีกด้วย ในกรณีผู้ปกครองเสียชีวิต หรือทุพลภาพในระหว่างสัญญาเอาประกัน การชำระเบี้ยประกันเป็นอันสิ้นสุดลง กรมธรรม์ยังให้ความคุ้มครองผู้เยาว์ต่อไปอีกด้วย

ข้อพิจารณาทำประกันชีวิต

จะทำประกันชีวิตอย่างไร

ผุ้ที่จะทำประกันชีวิตจะต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

  1. มีส่วนได้เสีย การทำประกันชีวิตนอกจากจะซื้อให้ตนเองได้แล้ว ยังสามารถซื้อหรือทำประกันชีวิตให้กับบุคคลอื่นได้ด้วยการชำระเบี้ยประกันแทนให้ แต่การซื้อให้คนอื่นจะต้องมีส่วนได้เสียในชีวิตของบุคคลนั้น ส่วนได้เสียจะพิจารณาได้จากความสัมพันธ์ที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน เช่น บิดามารดามีส่วนได้เสียในชีวิตของลูก จึงสามารถทำประกันชีวิตให้ลูกได้ สามีและภรรยามีส่วนได้เสียซึ่งกันและกัน จึงทำประกันชีวิตให้กันและกันได้ หรือส่วนได้เสียอาจพิจารณาความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เช่น นายจ้างทำประกันชีวิตให้ลูกจ้างได้
  2. การเลือกซื้อแบบประกันชีวิต แบบประกันชีวิตมีมากมายหลายแบบ ซึ่งมีผลประโยชน์และเบี้ยประกันภัยแตกต่างกันมากมาย ดังนั้นการเลือกซื้อแบบประกันชีวิต ควรจะต้องพิจารณา
    2.1 แบบการประกันชีวิต ที่ให้ความคุ้มครองและผลประโยชน์เหมาะสมกับความต้องการ
    2.2 เบี้ยประกันภัยที่จะต้องจ่าย จะต้องเหมาะสมกับรายได้ ไม่สูงจนเกินความสามารถในการชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย จึงต้องพิจารณาถึงรายได้ส่วนหนึ่งที่จะต้องแบ่งมาเป็นค่าเบี้ยประกันภัยด้วย เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัยอย่างต่อเนื่อง และตลอดไปได้
  3. การสมัครทำประกันชีวิต ผุ้ซื้อประกันชีวิตจะต้องกรอกข้อความในใบคำขอเอาประกันภัยซึ่งเกี่ยวกับอายุ อาชีพ ประวัติสุขภาพและอื่นๆ ด้วยตนเองและให้ตรงตามความเป็นจริงทุกประการ เพราะรายละเอียดต่างๆ จะถูกบริษัทนำมาใช้ประกอบการพิจารณาว่าจะรับประกันชีวิตหรือไม่ เพราะอายุ อาชีพ หรือโรคบางโรค บริษัทจะไม่รับประกัน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง อาชีพหรือโรคบางโรคอาจจะรับประกันได้ แต่จะต้องมีการคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ และบริษัทสามารถบอกล้างกรมธรรม์ได้หากผู้เอาประกันภัยกรอกข้อความเท็จ การบอกล้างกรมธรรม์จะมีผลให้บริษัทไม่ต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันชีวิต แต่จะคืนเฉพาะเบี้ยประกันชีวิตที่ได้ชำระไว้แล้วเท่านั้น
  4. อ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตให้เข้าใจ เมื่อบริษัทตกลงรับประกันชีวิตแล้ว ก็จะมอบกรมธรรม์ให้ ผู้เอาประกันชีวิตควรอ่านข้อความในกรมธรรม์ให้เข้าใจ เพื่อจะได้ทราบสิทธิ์เงื่อนไขต่างๆ และควรตรวจดูว่า ชื่อผู้เอาประกันชีวิตชื่อผู้รับผลประโยชน์ จำนวนเงินเอาประกันชีวิต จำนวนเบี้ยประกันชีวิต แบบประกันชีวิต อายุผู้เอาประกันชีวิต ระยะเวลาประกันชีวิตและระยะเวลาชำระเบี้ยประกันชีวิต ถูกต้องตรงกับที่แจ้งไว้หรือไม่ ถ้าไม่ตรงก็ให้ทักท้วงและให้บริษัทแก้ไขให้ถูกต้อง
  5. การชำระเบี้ยประกันภัย กรมธรรม์โดยทั่วไปจะกำหนดว่า การประกันภัยจะยังไม่มีผลบังคับจนกว่าจะได้ชำระเบี้ยประกันภัยงวดแรกแล้ว ถ้าบริษัทประกันภัยได้ออกกรมธรรม์เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยงวดแรกแล้ว กรมธรรม์ย่อมมีผลบังคับสมบูรณ์ทุกประการ และส่วนใหญ่ผู้เอาประกันมักจะชำระเบี้ยประกันภัยงวดแรกพร้อมกับใบคำขอให้กับตัวแทน ฉะนั้นจึงควรเรียกใบเสร็จรับเงิน หรือใบรับเงินชั่วคราวจากตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทนี้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังว่าเงินเบี้ยประกันภัยไม่ถึงมือบริษัท
  6. การชำระเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยงวดต่อๆ ไปก่อนวันที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ การชำระเบี้ยประกันภัยล่าช้ากว่ากำหนดอาจจะทำให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับได้ ดังนั้นถ้าตัวแทนประกันชีวิตไม่มาเก็บเบี้ยประกันภัยตามปกติ ผู้เอาประกันภัยจะต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยงวดต่อๆ ไปด้วยตนเอง โดยการหักบัญชีของธนาคารเอง หรือโดยอาจจะไปชำระที่สาขาบริษัท ด้วยตนเอง หรือส่งธนาณัติหรือสั่งจ่ายเป็นเช็คก็ได้

การเลือกซื้อแบบประกันชีวิต

แนวทางเบื้องต้นในการเลือกแบบประกันชีวิต

แบบการประกันชีวิตมีมากมายหลายแบบด้วยกัน แต่ละแบบจะมีลักษณะความคุ้มครองและให้ผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป เป็นผลให้อัตราเบี้ยประกันภัยแตกต่างกันด้วย ฉะนั้นผู้ซื้อควรจะเลือกซื้อแบบการประกันชีวิตที่เหมาะสมกับความต้องการโดยแบบการประกันชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 แบบด้วยกัน

  1. แบบตลอดชีพ เป็นแบบประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ถ้าผู้เอาประกันเสียชีวิตเมื่อใดขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ คือมีการชำระเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่อง บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันให้ผู้รับประโยชน์
    การประกันแบบตลอดชีพนี้จะได้เงินก้อนมาสำหรับจุนเจือบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลง ผู้ที่มีฐานะปานกลางต้องการประกันชีวิตแบบตลอดชีพสำหรับจุดประสงค์นี้ ส่วนผู้ที่มีเงินออมไม่มากนัก หรือไม่มีภาระต้องรับผิดชอบใครอีกแล้ว เงินก้อนที่ได้จะเป็นเงินทุนสำหรับค่าทำศพไม่ต้องตกเป็นภาระของคนอื่น
    นอกจากจะให้ความคุ้มครองแบบถาวรแล้ว ผู้เอาประกันที่มีชีวิตยืนยาว เมื่ออยู่ในวัยชราไม่มีรายได้สามารถเวนคืนกรมธรรม์เพื่อขอรับเงินสดได้
    การชำระเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เลือกชำระได้
    - ชำระเบี้ยประกันครั้งเดียวเป็นเงินก้อน
    - ชำระเบี้ยประกันภัย 10 ปี 20 ปี 30 ปี
    - ชำระเบี้ยประกันถึงอายุ 60 ปี
    - ชำระเบี้ยประกันจนกว่าจะเสียชีวิต
  2. แบบชั่วระยะเวลาหรือแบบเฉพาะกาล เป็นแบบประกันชีวิตที่คุ้มครองความตายโดยถือเอาความตายเป็นเงื่อนไขการจ่ายเงิน ถ้าผู้เอาประกันตายภายในระยะเวลาประกันบริษัืประกันชีวิตจะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์
    การประกันแบบชั่วระยะเวลานี้ มุ่งคุ้มครองความตายอย่างเดียวในระยะสั้น เบี้ยประกันชีวิตจึงต่ำกว่าแบบอื่น เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่สูงพอที่จะซื้อการประกันชีวิตแบบอื่น และต้องการความคุ้มครองการตายก่อนวันอันสมควร และเนื่องจากเป็นแบบที่คุ้มครองความตาย จึงไม่มีส่วนของการออมทรัพย์แลพไม่มีมูลค่าเวนคืนเงินสด ระยะเวลาคุ้มครองของกรมธรรม์ที่ขายมี 1 ปี 5 ปี 10 ปี 20 ปี หรือจนถึงครบกำหนดเมื่ออายุ 60 ปี
  3. แบบสะสมทรัพย์ เป็นแบบประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันให้แก่ผู้เอาประกันเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายจำนวนเงินเอาประกันให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกัน
    การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ส่วนของการออมทรัพย์คือส่วนที่ผู้เอาประกันได้รับเมื่อสัญญาครบกำหนด การออมทรัพย์นั้นบุคคลบางคนไม่สามารถเก็บออมได้ด้วยตนเอง เพราะอาจนำเงินไปใช้ในด้านอื่น การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์จึงเป็นการช่วยให้เกิดการออมทรัพย์วิธีหนึ่ง เพื่อไว้ใช้จ่ายในอนาคตหรือในยามชราเมื่อสัญญาครบกำหนด ระยะเวลาคุ้มครองของกรมธรรม์มีตั้งแต่ 10 ปี 15 ปี 20 ปี 25 ปี 30 ปี ครบกำหนดอายุ 60 ปี 90 ปี
  4. แบบเงินได้ประจำ เป้นแบบประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตทุกเดือนนับแต่ผู้เอาประกันชีวิตเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ สำหรับระยะเวลาการจ่ายเงินได้ประจำขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อไม่ว่าจะเป็นแบบเงินได้ประจำตามระยะเวลาที่กำหนด หรือแบบเงินได้ประจำตลอดชีพ

การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม

การประกันชีวิตประเภทกลุ่มการประกันชีวิตประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance)

นายจ้างได้ให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างจำนวนผู้เอาประกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปหรือ 10 คนขึ้นไปซึ่งทำงานในบริษัทหรือโรงงานเดียวกันมาประกันภัยร่วมกันภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยเดียวกัน การประกันชีวิตร่วมกันเป็นกลุ่มนี้เบี้ยประกันจะต่ำกว่าการประกันบุคคลคนเดียว การชำระเบี้ยประกัน นายจ้างอาจเป็นผุ้ชำระให้ทั้งหมด หรือร่วมกันชำระระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ในกรณีนี้ผุ้มีสิทธิทำประกันชีวิตได้ต้องสมัครทำประกันชีวิตไม่น้อยกว่า 75% ของผู้มีสิทธิทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อมิให้มีแต่ผู้ที่มีสุขภาพไม่ดีเท่านั้นที่จะขอสมัครทำประกัน
แบบประกันชีวิตกลุ่มที่ขายในปัจจุบัน ได้แก่

  1. แบบชั่วระยะเวลา 1 ปี ต่อสัญญาได้ถ้าผู้เอาประกันในกลุ่มตาย บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันให้ผู้รับประโยชน์
  2. แบบคุ้มครองจำนองที่มีจำนวนเงินเอาประกันชีวิตลดลงเท่ากันทุกปีๆ ปี
  3. แบบคุ้มครองจำนองที่มีจำนวนเงินเอาประกันชึวิตลดลงตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองแบบที่ 2 และ 3 สำหรับผู้ที่ผ่อนชำระบ้านและรถยนต์กับสถาบันการเงิน

นอกจากการประกันชีวิตกลุ่มตามที่กล่าวมานี้ ซึ่งบริษัทขายให้กับกลุ่มทั่วๆ ไปแล้วยังมีการประกันชีวิตกลุ่มที่ขายผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยขายให้กับกลุ่มผู้ถือบัญชีเงินฝากธนาคารในกรณีนี้เบี้ยประกันจะเก็บเท่ากันทุกอายุในอัตราต่ำ จำนวนเงินเอาประกันชีวิตไม่คงที่ แต่จะเปลี่ยนไปตามจำนวนเงินฝากในแต่ละเดือน และเนื่องจากอัตราเบี้ยประกันชีวิตต่ำ ไม่มีการตรวจสุขภาพจึงจำกัดจำนวนเงินเอาประกันชีวิตไม่เกิน 200,000 บาท

การประกันชีวิตกลุ่มทั่วไปก็เหมือนกับการประกันแบบบุคคลเดี่ยวซึ่งจะรับประกันอายุไม่เกิน 60 หรือ 65 ปี และยังมีการประกันชีวิตกลุ่มอีกชนิดหนึ่งสำหรับข้าราชการบำนาญที่มีหนี้สิน ซึ่งเกิดจากการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ต้องซื้อประกันชีวิตแบบนี้เพื่อค้ำประกันเงินกู้ และบริษัทรับประกันบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป

ข้อยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกันชีวิต

ข้อจำกัดบางประการที่บริษัทประกันชีวิตยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกัน

กรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วไป จะมีข้อจำกัดความรับผิดจากสาเหตุการตาย ต่อไปนี้

  1. ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันตาย โดยทั่วไปบริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้กับทายาทผู้เอาประกัน เงื่อนไขนี้เพื่อป้องกันการฆ่าเพื่อหวังเอาเงินประกันภัย
  2. ผู้เอาประกันกระทำอัตวินิบาตกรรมภายใน 1 ปี หรือผู้เอาประกันฆ่าตัวตายด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี บริษัทจะคืนเบี้ยประกันให้ทั้งนี้เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายเพื่อหวังเงินประกัน
  3. ความตายที่เกิดจากสงคราม (ไม่ว่าจะประกาศหรือไม่ก็ตาม) เนื่องจากในระหว่างเกิดสงครามความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันมีสูงกว่าปกติ โอกาสที่จะตายย่อมมีสูง กรมธรรม์จึงไม่ให้ความคุ้มครอง
  4. ความตายที่เกิดจากภัยสงครามกลางเมือง การกบฎ การปฏิวัติหรือรัฐประหาร การจลาจลการนัดหยุดงาน
    สำหรับภัยจลาจล ถ้าผู้เอาประกันต้องการความคุ้มครองสามารถซื้อเพิ่มได้ด้วยการเสียเบี้ยประกันเพิ่มพิเศษ แต่ผู้เอาประกันต้องไม่มีส่วนร่วมในภัยจลาจลนั้น
  5. ความตายที่เกิดจากการเดินทางอากาศที่มิใช่เครื่องบินพาณิชย์

ความตายที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าว บริษัทจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันที่ได้ชำระมาแล้วทั้งหมด เว้นแต่ภัยบางข้อที่ผู้เอาประกันสามารถซื้อเพิ่มเติมได้

รับเงินคืนระหว่างสัญญาย้อนหลัง

มีผู้เอาประกันจำนวนไม่น้อยอดสงสัยไม่ได้ว่า หากซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบที่มีเงินคืนระหว่างสัญญาทุกๆ ปี แต่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ไม่เคยขอรับเงินคืนระหว่างสัญญาสักครั้ง กรณีแบบนี้ผู้เอาประกันสามารถขอรับเงินคืนย้อนหลังได้หรือไม่

ปัญหานี้จะไม่ค้างคาใจผู้เอาประกันอีกต่อไป เพราะการรับงินคืนระหว่างสัญญา บริษัทประกันชีวิตฯ ให้สิทธิ์ผู้เอาประกันสามารถรับเงินคืนได้ทุกช่วงเวลา เพียงแต่เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือมอบฉันทะ (ถ้ามี) มาให้พร้อมหรือหากผู้เอาประกันไม่สะดวกที่จะมารับเงินคืนด้วยตนเอง ก็สามารถติดต่อขอรับเงินคืนผ่านทางบัญชีธนาคารด้วยการแสดงจำนงที่ส่วนบริการผู้เอาประกันผ่านทางโทรสารหมายเลข 0 2246 9537 พร้อมทั้งส่งเอกสารแสดงความจำนง ดังนี้

  1. หนังสือแสดงความจำนงให้โอนเงินจ่ายคืน หรือเงินปันผลเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

ผู้เอาประกันที่ประสงค์ขอรับเงินคืนระหว่างสัญญาสามารถติดต่อได้ที่ ส่วนบริการผู้เอาประกัน สำนักงานใหญ่ หรือสาขาทั่วประเทศ