ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประกันภัย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประกันภัย แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดี

ระบบการช่วยเหลือบนตึกสูง

ทุกครั้งที่เราเห็นภาพที่น่ากลัว จากไฟไหม้บนตึกสูงของศูนย์การค้า หรือที่พักบนคอนโดมิเนียม ความหวาดกลัวจากประสบการณ์ของผู้ที่ ติดอยู่ในอาคาร ที่สามารถรอดชีวิตออกมาได้ มันได้ทิ้งความทรงจำอันแสนเจ็บปวดที่บุคคลที่เป็นที่รู้จัก หรือคนใกล้ชิดจาก

ในแง่ของความท้าทายในการแก้ปัญหาเรื่องของความปลอดภัยบนอาคารสูงในวันนี้ วิธีการที่ผู้ ติดอยู่ในอาคารเหล่าจะต้องอพยพออกมาอย่างไรให้ปลอดภัย ?

สิ่งที่ท้าทายที่นักออกแบบโครงสร้าง ให้ความสนใจใแง่ความปลอดภัยบนตึกสูงที่มีมากมาย ทุกเมืองใหญ่ทั่วโลก ความจริงก็คือการออกแบบและสร้าง อาคารใหม่เพื่อให้บรรลุถึงความปลอดภัยโดยรวมในกรณีที่มีไฟไหม้ใหญ่ หรือการระเบิด เรามีทางเลือกในการทำงานที่จะเอาชนะ อุปสรรค ใดๆ ที่จะอพยพผู้คนให้ปลอดภัย เวลาที่ผ่านไปในแต่ละวินาทีหมายถึงความเป็นความตาย เพื่อที่จะเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ หรืออย่างน้อยก็ไปสู่​​การลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด ระบบกู้ภัยระบบนี้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย และสภาพร่างกายของผู้อพยพ รวมทั้งผู้พิการด้วยการออกแบบเพื่อคนพิการที่สามารถเคลื่อนตัวรถเข็นออกนอกหน้าต่างที่ออกแบบมาเพื่อการอพยพ อุปกรณ์พิเศษที่อยู่บริเวณด้านในของหน้าต่างเศษที่บรรยุบันไดบับที่สามารถขยายออกเพื่อรองรับรถเข็น

วันเสาร์

การเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม

ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม การเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม
เป็นแนวทางให้เข้าใจภาคปฏิบัติสำหรับการเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม หรือเรียกสั้น ๆ กันว่า การเคลมประกันรถระหว่างซ่อม ในกรณีที่รถยนต์ของเราขับไปประสบอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายถูก เรามีสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถ (เคลมสินไหม) ทดแทนจากคู่กรณีได้ (ตาม ป.พ.พ แล้ว ถือว่าเป็นฝ่ายถูกละเมิด) และถ้าหากคู่กรณีมีประกันภัยอยู่แล้ว เราสามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณีได้ทันที (ถ้าประกันไม่ยอมจ่าย ให้ตามจากคู่กรณี ขอให้คู่กรณีตามประกันที่ตนเองใช้บริการ) นอกจากนี้เรายังสามารถเรียก สินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม และเรายังสามารถเรียกร้อง ค่าเสื่อมราคาจากการประสบอุบัติเหตุ ได้อีกด้วย

การทำสำเนาหลักฐานที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนเก็บไว้
1. เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ควรถ่ายรูปเก็บไว้ทันที เพื่อป้องกันคดีพลิก
2. หลังจากที่เจ้าหน้าที่บริษัทประกันแจกใบเคลมสำหรับซ่อมแล้ว
    - ถ่ายสำเนาส่วนหัวใบเคลมของคู่กรณีไว้ (หรือใช้กล้องถ่ายรูป) อย่างน้อยต้องมีหมายเลขใบเคลม รวมถึงสถานที่ขณะออกใบเคลมของเจ้าหน้าที่ประกัน
    - ถ่ายสำเนาใบเคลมของเราเก็บไว้ก่อนที่จะส่งให้อู่ซ่อมรถของประกัน
3. ตอนส่งรถเข้าอู่ซ่อม ใบแจ้งซ่อม / รับรถ ต้องระบุวันที่รับรถ (เข้าอู่ซ่อม) ที่ชัดเจน และทำสำเนาเก็บไว้
4. หลังจากที่ซ่อมเสร็จ ให้ขอสำเนาเอกสารจากอู่ซ่อม ได้แก่
    - รายละเอียดรายการซ่อม
    - ใบแจ้งซ่อม / ส่งรถ ต้องระบุวันที่ส่งรถ (ออกจากอู่) ที่ชัดเจน

การรวบรวมค่าใช้จ่ายระหว่างรอรถซ่อม
1. รวบรวมค่าใช้จ่าย / รายละเอียดที่จะขอสินไหมชดเชยช่วงที่ไม่มีรถใช้เพราะรอซ่อม เช่น
    - ค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้นเพราะขาดรถ
    - รายได้ที่ขาดหายไปเพราะขาดรถใช้ประกอบอาชีพ (เช่น ขับแท็กซี่ ใช้ในการรับจ้าง)
    - ค่าเสื่อมสภาพที่อาจจะมี (เช่น บริษัทไม่ยอมเปลี่ยนอะไหล่ แต่ใช้วิธีซ่อม)
2. การมีหลักฐานของค่าใช้จ่าย จะช่วยให้การเรียกสินไหมมีน้ำหนักขึ้น ใบเสร็จรับเงินต่าง ๆ

ขั้นตอนเรียกสินไหม
1. แจ้งความจำนงค์ขอยื่นเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมกับบริษัทประกันคู่กรณี
2. ถ้าบริษัทประกันไม่ปฏิเสธ โดยทั่วไปจะให้ยื่นเอกสาร (โดยทั่วไปจะให้ส่งทาง fax)
3. เอกสารที่ต้องเตรียม ได้แก่
    - หนังสือแจ้งความจำนงค์ (ดูตัวอย่างที่ท้ายบทความนี้) พร้อมสำเนาหลักฐานค่าใช้จ่ายที่เกิด
    - สำเนาใบเคลมหรือรายละเอียดการซ่อม (ของเรา) และเอกสารที่ระบุวันรับรถและส่งคืนรถ
    - สำเนาใบเคลมคู่กรณี
    - สำเนาบัตรบัตรประชาชนพร้อมสำเนาหน้ากรมธรรม์ของเรา (ถ้ามี)
    - สำเนาทะเบียนรถ
4. ควรโทรไปสอบถามบริษัทประกันว่าเอกสารที่ส่งไปครบถ้วน ตัวอักษรชัดเจนหรือไม่ ใครรับเรื่อง หมายรับเรื่องที่เท่าไหร่ (จะได้ติดตามเรื่องสะดวกขึ้น) และจะติดต่อกลับเมื่อไหร่

ขั้นตอนหลังเรียกสินไหม
1. หากพ้นวันที่กำหนดไว้แล้วยังไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ ให้โทรติดตามเรื่อง (กระทุ้งต่อมความรับผิดชอบ) ก่อนโทร เตรียมหมายเลขรับเรื่องไว้เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
2. หลังเรื่องอนุมัติ มักมีการต่อรองราคา อันนี้เป็นความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลในการต่อสู้เรียกค่าสินไหมทดแทนให้มากที่สุด (ในขณะที่ฝ่ายบริษัทประกันภัยก็จะจ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้)
3. การการต่อรองจบสิ้นด้วยดี บริษัทประกันภัยจะส่ง (fax) ใบตกลงรับค่าสินไหมให้เราลงชื่อยอมรับ (ตามที่ตกลงกันไว้ในข้อที่ผ่านมา) และส่ง (fax) กลับคืนเขาไป
4. การรับค่าชดเชย อาจจะเป็นเงินสด เช็ค หรือโอนเงินเข้าบัญชี  (แล้วแต่วิธีการของแต่บริษัทไป)

การเรียกสินไหมทดแทนค่าเสียหายของรถยนต์เป็นสิทธิ์ที่ผู้ถูกละเมิดสามารถกระทำได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าผู้ละเมิด (ฝ่ายผิด) จะมีประกันภัยคุ้มครองหรือไม่ก็ตาม ไม่เพียงแต่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ยังรวมถึงค่าความเสียหายอื่นที่เกิดขึ้นเพราะการขาดรถใช้ด้วย

ตัวอย่างหนังสือประกอบการแจ้งความจำนงค์ขอเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม

วันที่  1 เมษายน 2552
เรื่อง ขอเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม
เรียน  แผนกสินไหมทดแทน
เอกสารแนบ (ถ้ามี)1.  ....
                        2.  ....
ข้าพเจ้า นาง A เป็นเจ้าของรถยนต์ โตโยโต้ รุ่น โคล่า หมายเลขทะเบียน พรบ 9999 กทม ถูกรถยนต์ยี่ห้อ ฮอนโด้ หมายทะเบียน คปภ 9999 กทม ชนท้ายที่ปากซอยอ่อนนุช 17 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งขับโดยคุณ M
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้รถของข้าพเจ้ามีความเสียหายดังนี้
1. รายการความเสียหาย 1
2. รายการความเสียหาย 2
3. ....บลา ๆ ๆ
ข้าพเจ้าได้จึงได้นำรถยนต์เข้าซ่อมที่ ศูนย์โตโยโต้ สาขาอ่อนนุช ในวันที่ 1 มีนาคม 2552 ซ่อมเสร็จ วันที่ 31 มีนาคม 2552 เป็นเวลา 31 วัน

ข้าพเจ้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าหลังการขาย โดยปกติจะต้องใช้รถยนต์สำหรับติดต่อลูกค้าทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑลทุกวัน ประมาณ 60 กม. / วัน ในระหว่างที่นำรถเข้าซ่อมนั้น ข้าพเจ้าต้องใช้บริการรถแท็กซี่ในการเดินทางแทนและมีความไม่สะดวกในการเดินทางอย่างมาก

ดังนั้น จึงขอเรียกสินไหมดังต่อไปนี้
1. ค่าขาดผลประโยชน์จากการใช้รถ 400 บาทต่อวัน เป็นระยะเวลา 31 วัน รวม 12,400 บาท
2. ค่าเสื่อมสภาพรถจากอุบัติเหตุ 10,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 22,400 บาท

source: iamcar.net, pantip.com

วันอาทิตย์

ประกันภัยเพื่อธุรกิจปลอดภัย

ประกันอุ่นใจประกันภัยเพื่อธุรกิจปลอดภัย อุ่นใจไร้ความเสี่ยง

ปัจจุบันการบริหารความเสี่ยงองค์กรกำลังเป็นที่สนใจของทุกวงการทั้งภาครัฐและเอกชน มีการฝึกอบรมและนำไปใช้ในองค์กรอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ SMEs ซึ่งกลยุทธ์หนึ่งในการบริหารความเสี่ยงองค์กรคือ การโอนความเสี่ยงภัยไปให้ผู้อื่นรับผิดชอบแทนซึ่งก็คือการประกันภัยนั่นเอง
  1. การประกันอัคคีภัย หรือการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เป็นการประกันภัยทรัพย์สินที่เป็นตัวอาคารส่วนขยายต่อเติมตัวอาคาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง เครื่องใช้อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสุขาภิบาล เครื่องจักรในการผลิตสินค้า และสต็อกสินค้า โดยการประกันอัคคีภัย จะให้ความคุ้มครองทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจาก ไฟไหม้ หรือ ฟ้าผ่า อีกทั้งยังสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม เช่น ลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว หรือภัยน้ำท่วม ฯลฯ ส่วนการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินมีอัตราเบี้ยประกันที่สูงกว่าการประกันอัคคีภัย ซึ่งท่านสามารถเลือกซื้อได้ตามความเหมาะสมกับความเสี่ยงภัยของท่าน
  2. การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก เป็นการประกันภัยความเสียหายทางการเงิน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากภัยที่เอาประกันภัยไว้ตามการประกันภัย หรือ การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ความเสียหายทางการเงินได้แก่ กำไรสุทธิที่ขาดหายไปเมื่อธุรกิจหยุดชะงัก ค่าใช้จ่ายคงที่ยังคงต้องจ่ายแม้จะไม่มีการผลิตก็ตาม เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่า ฯลฯ และการผูกพันทางการเงิน เช่น ดอกเบี้ย
  3. การประกันภัยความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก เป็นการประกันภัยความรับผิดตามกฏหมายของผู้เอาประกันภัยต่อความบาดเจ็บทางร่างกายหรือชีวิต หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ที่เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุอันมีสาเหตุมาจากความบกพร่องของอาคารสถานที่ประกอบการของผู้เอาประกันภัย หรือจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานของพนักงาน ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย
  4. การประกันภัยความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์ เป็นการประกันภัยความรับผิดตามกฏหมายของผู้เอาประกันภัยต่อความบาดเจ็บทางร่างกาย หรือชีวิต หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินขแงผู้เสียชีวิต อันมีผลมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้เอาประกันภัยแล้วเกิดภัยตามที่ได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์และเกิดขึ้นภายในอาณาเขตความคุ้มครองที่ระบุในกรมธรรม์
  5. การประกันภัยเงินทดแทนแรงงานและความรับผิดของนายจ้าง เป็นการประกันภัยความรับผิดของผู้เอาประกันภัยตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินค่าทดแทนแรงงาน หรือตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ต้องจ่ายเงินทดแทนแรงงานแก่พนักงานลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้แก่ผู้เอาประกันภัย และได้รับบาดเจ็บทางร่างกายหรือชีวิตโดยอุบัติเหตุ หรือเป็นโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานตามทางการที่จ้างของผู้เอาประกันภัย
  6. การประกันภัยการขนส่งสินค้า เป็นการประกันภัยทรัพย์สินที่เป็นสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่ง และได้รับความเสียหายหรือสูญหายโดยอุบัติเหตุจากสาเหตุต่างๆ ตามข้อตกลงคุ้มครองที่เลือกซื้อ เช่น รถคว่ำ รถชนกัน ไฟไหม้ ระเบิด สินค้าถูกขโมย รวมถึงความเสียหายหรือการสูญหายจากภัยธรรมชาติ ฯลฯ
  7. การประกันภัยสำหรับเงิน เป็นการประกันภัยทรัพย์สินที่เป็นเงินที่เก็บอยู่ในสถานที่เอาประกันภัย หรืออยู่ระหว่างการขนส่งภายนอกสถานที่เอาประกันภัย ซึ่งถูกขโมย จี้ชิง หรือจี้ปล้น ตามข้อตกลงคุ้มครองที่เลือกซื้อ
  8. การประกันภัยโจรกรรม เป็นการประกันภัยทรัพย์สินตามที่ตกลงกันไว้ ที่ถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ตามข้อตกลงคุ้มครองที่เลือกซื้อ
  9. การประกันภัยรถยนต์ เป็นการประกันภัยที่คุ้นเคยกันดี แบ่งเป็นการประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกกันอย่างสั้นๆ ว่า การประกัน พ.ร.บ. และการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือที่เรียกกันอย่างสั้นๆ ว่า การประกันภัยประเภท 1 การประกันภัยประเภท 3 เป็นต้น
  10. การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่พนักงานและลูกจ้าง เมื่อประสบภัยหรือได้รับความเสียหายทางร่างกายจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะสูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งถือว่าเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้างได้ทำงานอย่างอุ่นใจ
ประเภทประกันภัยที่กล่าวมาข้างต้น เน้นที่ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินและความรับผิดตามกฏหมายที่ผู้ประกอบการทั่วไปควรจะจัดทำประกันภัยไว้เพื่อที่หากเกิดเหตุที่ไม่คาดหมายไว้ก็จะสามารภกลับไปดำเนินการต่อได้เพราะมีบริษัทประกันภัยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้ เมื่อธุรกิจมีกำไรก็อย่าลืมคิดถึงพนักงานลูกจ้างโดยการทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือการประกันภัยสุขภาพ มอบให้กับพนักงานเป็นสวัสดิการเพิ่มเติมจากที่กฏหมายกำหนด

หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประเมินอัตราเบี้ยประกันภัย หรือขอนัดหมายเพื่อการประเมินภัย ติดต่อตัวแทนรับประกันภัย

ศูนย์บริการด้านการประกันภัย

ศูนย์บริการด้านการประกันภัย

Insurance Service Center: ISC

ทุกเรื่องราวด้านการประกันภัยมีคำตอบ 3 ช่องทางติดต่อ สำนักงาน คปภ.

  1. บริการสายด่วน ประกันภัย 1186 หรือโทร 02 515 3999
  2. บริการทางอินเตอร์เน็ต www.oic.or.th
  3. การรับบริการด้วยตนเอง Walk in ณ สำนักงาน คปภ. ส่วนกลางและภูมิภาค

เมื่อคุณประสบภัยจากรถ สายด่วนประกันภัย 1186 อยู่เคียงข้างคุณ

www.oic.or.th

เกิดอัคคีภัย ควรทำอย่างไร

อัคคีภัย

PLAN TO GET OUT ALIVE

ท่านทั้งหลายยังไม่ทราบว่าเพลิงไหม้แท้จริงนั้นเป็นเช่นไร สิ่งที่ท่านจะได้ดูต่อไปนี้ อาจจะทำให้ท่านเกิดอาการหวาดกลัว แต่จงจำไว้ว่าความยำเกรงจะทำให้ท่านรอดตายได้

พราะครอบครัวของท่านสำคัญที่สุด อัคคีภัยภายในบ้านคนส่วนมากจะไม่คิดถึงมัน จนกระทั่งสายเกินไป อย่าเป็นเหยื่อของเพลิงไหม้ ใส่ใจ แผนหนีไฟ ช่วยชีวิต

* ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟ smoke alarm
* ซ้อมขั้นตอนการหนีไฟ
* เรียนรู้ทางออก จากห้องต่างๆ 2 ทาง
* วางแผนหนีไฟเพื่อชีวิตเดี๋ยวนี้

ถ้าท่านไม่ทราบคำตอบของคำถามเหล่านี้ ท่านอาจจะเป็น 1 ในจำนวนหมื่นคนที่ได้รับอันตรายจากอัคคีไฟทุกปี ท่านจะสามารถหาคำตอบเหล่านี้ ได้โดยการติดตาม รายการแผนหนีไฟ ช่วยชีวิต

ข้อสำคัญประการที่ 3 คือ ความร้อน ร่างกายของท่านจะหยุดทำงาน ท่านจะเสียชีวิตภายในไม่กี่วินาที จากความร้อนของไฟ มันน่ากลัวมาก ร่างกายของท่านจะหยุดทำงาน อุรหภูมิร้อนถึง 150 องศสเซลเซียส ปอดของท่านจะพังทลาย และท่านจะหมดสติไป ถ้าท่านสูดอากาศที่มีความร้อน 150 องศา ท่านจะเสียชีวิตทันที ดังนั้นความสำคัญ ข้อที่ 3 ก็คือความร้อน มันน่ากลัวมาก มันสามารถฆ่าคนได้ภายในไม่กี่วินาที หายใจเพียงครั้งเดียว ปอดของท่านจะถูกทำลาย

ข้อสำคัญประการที่ 4 คือเวลา
คนส่วนมาก จะคิดว่าตัวเองจะมีเวลาที่หนีไฟ ที่จริงแล้ว เวลานั้นมีน้อยมาก
มาดูเหตุการณ์จำลองใน วิดีโอ
เกิดไฟไหม้ในถังขยะ โดยที่ไม่มีใครรู้ ภายในเวลา 1 นาที โซฟาก็จะลุกเป็นไฟ แล้วไฟก็เริ่มกระจายไปทั่วห้อง แต่ก็ยังไม่พอที่จะทำให้เครื่องตรวจจับควันไฟ Smoke Alarm ถัดไปของห้องดังขึ้นมาได้
ข้างบนยังไม่ทราบถึงไฟที่เกิดขึ้นข้างล่าง ส่วนข้างล่างก็ร้อนพอที่จะทำให้ท่านสลบได้
2 นาที ผ่านไป มีสัญญาณเตือนควันไฟ Smoke detector ก็ดังขึ้น ควันเริ่มกระจายไปชั้นบน
3 นาที ห้องชั้นล่างเต็มไปด้วยควันไฟ ไม่มีใครสามารถรอดได้ ถ้าอยู่ในห้องนี้
4 นาที ทางเดินข้างบน และข้างล่างเดินผ่านไม่ได้แล้ว
ถ้าท่านไม่ได้วางแผนก่อน ท่านจะหนีไม่พ้น นี่เป็นเวลาเพียง 2 นาที หลังจากที่ได้รับสัญญาณเตือน ในเวลาเพียง 5 นาที ควันไฟและก๊าชพิษ ความร้อน ก็จะทำให้ทุกคนที่อยู่ในบ้านเสียชีวิตหมด

เครื่องตรวจจับควันไฟในอเมริกา 1 ใน 3 ไม่ทำงานเพราะถ่านหมด พอเกิดเพลิงไหม้ก็จะไม่มีประโยชน์อะไร ควรเลือกอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการทำงานได้ เพื่อเช็คว่ามันยังสามารถทำงานได้

ท่านต้องทราบถึงความจริง 4 ประการที่จะช่วยให้ท่านปลอดภัยในเหตุการณ์เพลิงไหม้

* ไฟไหม้นั้นมืด ท่านจะไม่สามารถมองเห็นได้
* ก๊าชพิษ และควันไฟจะเป็นอันตรายต่อชีวิตของท่าน มากกว่าเปลวไฟ
* ความร้อนของไฟนั้นมหาศาล และสามารถจะฆ่าท่านได้
* เวลา ท่านจะมีเวลาน้อยมากที่จะหนีไปสู่ความปลอดภัย

ท่านกำลังนอนหลับอยู่ เพลิงไหม้เกิดลุกขึ้น ควันพิษต่างๆ เข้ามาในห้องนอนของท่าน ท่านคิดว่าจะตื่นขึ้นมาทำอย่างไร ?
ความจริงที่น่ากลัว ท่านจะไม่ได้กลิ่นของก๊าชพิษ ท่านจะไม่ตื่น จะหลับลึกลงไปอีก ผู้คนส่วนใหญ่ จะเสียชีวิตจากควันพิษ มากกว่าเปลวเพลิง

ถ้าท่านวิ่งออกมาเจอควันไฟ ท่านมองอะไรไม่เห็น ท่านจะหายใจไม่ออก เหมือนกับกำลังจมน้ำ ทีนี้บวกกับ ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ืเข้าไป มันไม่มีสี หรือกลิ่น มันจะทำให้สมองท่านหยุดทำงาน

ก๊าชพิษ และควันไฟจะฆ่าท่านก่อนเปลวเพลิง ถ้าหลับอยู่ ท่านจะไม่ตื่น ดังนั้นเสียงเตือนจากสัญญาน เครื่องตรวจจับควันไฟ First Alert|Smoke Alarm จะปลุกท่าน และช่วยชีวิตท่านได้ และเตรียมความพร้อมของบันไดหนีไฟ Fire Escape Ladder ไว้ด้วย

ท่านสามารถศึกษาวิธีการหนีไฟ เพื่อความปลอดภัยของท่าน และครอบครัว

เกิดเพลิงไหม้ในขณะที่ท่านหลับ
- ท่านคิดว่าจะตื่นเพราะควันไฟหรือไม่ ?
- ท่านจะมองเห็นทางหนีของท่านไหม ?
- ท่านจะมีเวลาเท่าไรในการหนีไฟ ?

ถ้าท่านไม่ทราบคำตอบของคำถามเหล่านี้ ท่านอาจจะเป็น 1 ในจำนวนหมื่นคนที่ได้รับอันตรายจากอัคคีไฟทุกปี ท่านจะสามารถหาคำตอบเหล่านี้ได้โดยการติดตาม รายการแผนหนีไฟ ช่วยชีวิต

ดังนั้นเวลาเกิดไฟไหม้ เวลาอาจจะเป็นศัตรูตัวฉกาจของท่าน ท่านจะมีเวลาเพียง 2 นาทีเท่านั้น ในการที่จะพาครอบครัวของท่านหนีไฟ และนั้นก็คือข้อเท็จจริงที่ท่านควรทราบ

1. ไฟนั้นมืด ท่านจะมองอะไรไม่เห็นเลย
2. ควันไฟ และก๊าชพิษจะทำให้ท่านเสียชีวิต ไม่ใช่เปลวไฟ
3. ความร้อน นั้นแรงสูงมาก ท่านอาจตายได้ ภายในเวลาไม่กี่วินาที
4. ท่านมีเวลาน้อยมาก ในการหนีไฟ

ถ้าท่านเข้าใจความจริง 4 ประการนี้ท่านก็สามารถวางแผนหนีไฟได้

เกี่ยวกับความคุ้มครองการประกันภัยรถยนต์

ประกันภัยรภยนต์

ข้อพึงทราบเกี่ยวกับความคุ้มครองการประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2+ และ 3+

หลายคราวเมื่อเกิดเหตุแล้วมีข้อถกเถียงกันเรื่องความคุ้มครองของแผนประกันรถยนต์ประเภท 2+ และ 3+ จนบางครั้งทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่พอใจบริษัทประกัน เนื่องจากการไม่ทราบเงื่นไขความคุ้มครองที่ชัดเจนบางเรื่อง ดังนี้

  1. รยยนต์คันเอาประกันจะต้องเสียหายจากการชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น (ยานพาหนะทางบก หมายถึง รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ หรือมอเตอรืไฟฟ้าเท่านั้น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์)
  2. กรณีรถประกันเฉี่ยวชนกับยานพาหนะทางบกแล้วเสียหลักไปชนกับทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น ต้นไม้ เกาะกลาง ฯลฯ กรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองรถประกันเฉพาะความเสียหายที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น ส่วนความเสียหายต่อเนื่องที่ชนกับทรัพย์สินอื่นใดผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเอง
  3. กรณีรถประกันถูกรถคู่กรณีปาดหน้า หรือหักหลบรถคู่กรณี แต่มิได้เฉี่ยวชนกัน ทำให้รถประกันเสียหลักตกข้างทาง หรือเฉี่ยวชนกับทรัพย์สินอื่นๆ ความเสียหายของรถประกันจากการเสียหลักตกข้างทาง หรือเฉี่ยวชนกับทรัพย์สินอื่นๆ กรมธรรม์ไม่คุ้มครอง
  4. กรณีรถประกันเฉี่ยวชนกับรถคู่กรณี และคู่กรณีหลบหนี ผู้เอาประกันจะต้องแจ้งรายละเอียดให้บริษัทฯ ทราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ทะเบียนรถ (หมวดตัวอักษร หมายเลข และจังหวัด โดยต้องครบทุกตัวอักษร) และนำรายละเอียดคู่กรณีไปแจ้งความสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ แต่หากต่อมาบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่า รถคู่กรณีคันดังกล่าวไม่ได้เกิดเหตุชนกับรถประกัน กรมธรรม์ไม่คุ้มครอง หรือหากมีการจ่ายค่าซ่อมไปแล้วผู้เอาประกันต้องคืนค่าซ่อมให้กับบริษัทฯ
  5. กรณีรถประกันเฉี่ยวชนกับรถคู่กรณี และผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้งรายละเอียดรถคู่กรณี ให้บริษัท ทราบได้ กรมธรรม์ไม่คุ้มครองความเสียหายรถประกัน

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะทำประกันรถยนต์ประเภทไหนจงขับขี่อย่างมีสติ เมาไม่ขับ ง่วงให้พัก ขับไม่โทร

source: ไทยไพบูลย์ประกันภัย

ประกันภัยเพื่อบรรเทาความเสียหาย

ประกันภัยเพื่อบรรเทาความเสียหาย

การทำประกันภัยเพื่อบรรเทาความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สิน

เราจะบรรเทาความเดือดร้อนอันเนื่องจากภัยได้อย่างไร ในเมื่อภัยทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตหรือทรัพย์สิน ถ้ามองในด้านส่วนรวมแล้วทรัพย์สินทุกชิ้นไม่ว่าจะเป็นของผู้ใดย่อมไม่ปราถนาให้เกิดความเสียหายขึ้น อีกทั้งชีวิตของมนุษย์ทุกคนย่อมมีคุณค่าทางเศณษฐกิจแก่สังคมไม่มากก็น้อย

วัตถุที่เป็นเป้าของความเสี่ยงภัยได้ 2 ประเภท

1. ความเสี่ยงภัยในชีวิต โอกาสที่จะเกิดการสูญเสียหรือความเสียหายขึ้นกับร่างกายของเรา เช่น การเสียชีวิต การได้รับบาดเจ็บ การที่ต้องสูญเสีบอวัยวะเนื่องจากอุบัติเหตุ

2. ความเสี่ยงภัยในทรัพย์สิน โอกาสที่เกิดการสูญเสียหรือความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินในความครอบครองของเราหรือกับทรัพย์สินที่เรามรสิทธิจะใช้ประโยชน์โดยไม่ได้เกิดจากการเสื่อมสภาพตามปกติของตัวทรัพย์สินเอง เช่นทรัพย์สินภายในบ้านถูกขโมยไป บ้านถูกไฟไหม้ รถยนต์ถูกชน การประกัรภัยได้มีความพยายามมาแต่ครั้งโบราณกาลในการที่จะทำให้มนุษญ์มีความเสี่ยงต่างๆ น้อยลง หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จะต้องมีวิธีการมาเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายเหล่านั้น วิธีการหนึ่งซึ่งถูกออกแบบอย่างเป็นระบบมากที่สุดและได้รับการพัฒนามาเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่องได้แก่ การประกันภัย หลักการง่ายๆ ของกลไกการประกันภัย เพื่อมอบให้แก่บริษัทที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับประกันภัย หากในช่วงระหว่างปีที่ทำประกันภัยไว้ บริษัทประกันภัยก็จะนำเงินไปชดใช้ให้กับผู้ที่เสียกายนั้นตามจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

ประกันแบบชั่วระยะเวลา

แบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance)

เป็นการประกันชีวิต แบบชั่วระยะเวลา หรือ แบบเฉพาะกาล เป็นแบบการประกันชีวิต ที่มีเงื่อนไขการจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต ภายในกำหนดระยะเวลา เช่น 1 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นต้น การประกันชีวิตแบบนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูง แต่ความสามารถในการชำระเบี้ยต่ำ เช่น ต้องการปลดเปลื้องหนี้สินชั่วคราว หนี้จำนอง เป็นต้น

คนเราทุกคนล้วนแต่ต้องการความปลอดภัยในชีวิตทั้งนั้น และการทำประกันชีวิตก็เป็นทางเลือกหนึ่งสามารถให้ความมั่นใจสำหรับชีวิตในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าจะมีรายได้น้อยก็ตาม สามารถเลือกทำประกันแบบชั่วระยะเวลา หรือที่เรียกว่าแบบเฉพาะกาล ซึ่งเป็นประกันที่คุ้มครองในระยะสั้นเท่านั้น มีจำนวนเบี้ยประกันชีวิตต่ำกว่าแบบอื่น เหมาะสำหรับคนที่รายได้น้อย และต้องการความคุ้มครองมากที่สุดในกรณีเสียชีวิต เพราะฉะนั้นไม่ต้องคิดน้อยใจไปหรอก เพราะถึงแม้คุณจะมีรายได้น้อยแต่คุณก็มีสิทธิได้รับความคุ้มครองในชีวิตไม่ต่างกับคนที่รายได้มากเหมือนกัน

ความสำคัญของการประกันภัยในชีวิตประจำวัน

ความสำคัญของการประกันภัย

การประกันภัยที่สำคัญสำหรับชีวิตประจำวันของครอบครัว

การประกันภัยเกี่ยวกับบุคคล
การประกันภัยเกี่ยวกับบุคคลเป็นการประกันภัยที่บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินเพื่อบรรเทาความเสียหายให้ เมื่อเกิดความเสียหายแก่ร่างกาย และสามารถแบ่งได้

  • การ ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุจนทำให้เสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ โดยได้รับเงินชดเชยตามจำนวนที่ตกลงกัน หรือหากต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลก็จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตามที่ เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยแบบของการประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคล
  • การ ประกันสุขภาพ มีวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยทั่วไปจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในส่วนของ ค่าห้อง ค่าแพทย์ ค่าผ่าตัก ค่ายา โดยสามารถซื้อได้ทั้งที่เป็นแบบผู้ป่วยในเพียงอย่างเดียว หรือแบบที่เป็นผู้ป่วยนอก
  • การ ประกันชีวิต หลักการเริ่มแรก คือการจ่ายให้เฉพาะกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาความคุ้มครองขึ้นมากมายทั้งจำนวนชนิด และรูปแบบการประกันชีวิต

การประกันภัยสำหรับทรัพย์สิน
หากทรัพย์สินของเราเกิดเสียหายหรือสูญหายไป นอกจากเราจะเสียโอกาสในการใช้ทรัพย์สินนั้นตามปกติแล้ว เรายังต้องเสียเงินเพื่อซ่อมแซมหรือหาซื้อทรัพย์สินชิ้นใหม่มาทดแทน เราจึงควรทำประกันภัยสำหรับบ้านและรถยนต์ไว้ เพื่อให้อุ่นใจ บริษัทประกันภัยจะช่วยเข้ามาแบ่งเบาภาระทางการเงินได้

  • การประกันอัคคีภัย ซึ่งมีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตปัจจุบันที่เราต้องทิ้งบ้านไว้โดยไม่มีคนดูแล
  • การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
  • การประกันภัยรถยนต์

สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุต่างๆ เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะเวลาที่คนเราประมาทซึ่งสถิติการเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุ ก็มีจำนวนสูงมากดังนั้นในการทำประกันชีวิตสามารถทำสัญญาเพิ่มเติมความคุ้ม ครองอุบัติเหตุได้อีกด้วย ซึ่งสัญญาที่จะเป็นผลโดยตรงจากอุบัติเหตุภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ที่เกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บ การประกันประเภทนี้ บางบริษัทอาจจะให้ความคุ้มครองเพิ่มค่าผ่าตัดให้ด้วย แต่ต้องเป็นรายการค่าผ่าตัดที่ระบุไว้ในตารางผ่าตัดในกรมธรรม์ กันไว้ดีกว่าแก้ ยังเป็นคำที่ใช้ได้เสมอ เพราะฉะนั้นทำประกันไว้ก่อนก็เป็นหลักประกันที่ดีสำหรับอนาคต

การมองเห็นกับการขับรถ

การมองเห็นกับการขับรถการมองเห็นกับการขับรถ ลดอุบัติเหตุ

ในการขับรถสายตาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่คนส่วนใหญ่คิดว่าแค่มองเห็นก็สามารถขับรถได้ แท้ที่จริงแล้วการมองเห็นมีหลายแบบหลายระดับ ขึ้นกับสภาพดวงตาของบุคคลด้วย ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการขับรถอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตาบอดสี ความสัมพันธ์ระหว่างการมองเห็นกับระยะทางและเวลา โดยปกติเราจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วินาที ในการมองเห็นสิ่งของ แต่ในขณะขับรถ และต้องหลบของสิ่งนั้น เราต้องมีเวลาเพิ่มขึ้น เพื่อการตัดสินใจและแก้ไขสถานการณ์ และที่สำคัญที่สุดรถกำลังแล่นเข้าไปใกล้สิ่งกีดขวางนั้นมากขึ้นทุกที การมองเห็นในเวลากลางคืนในที่มืดสายตาจะแย่กว่าที่สว่างมาก โดยเฉพาะเวลาที่ออกจากที่สว่างสู่ที่มืด จะต้องใช้เวลาในการปรับสายตาให้ชินกับความมืด แสงเข้าตา เวลามีแสงสว่างมากๆ ส่องเข้าตา จะทำให้ตาพร่ามองอะไรไม่เห็นขณะหนึ่ง อาจจะเป็นแสงอาทิตย์ ไฟหน้ารถคันที่สวนมา แสงสะท้อนจากโลหะข้างถนนหรือเครื่องประดับรถ

คำแนะนำที่ช่วยให้การมองเห็นในการขับรถดีขึ้น

  1. ฝึกตัวเองให้พยายามมองไกลที่สุดที่จะไกลได้ ทั้งกลางวันและกลางคืน เพิ่มลานสายตาให้กว้างขึ้น โดยระวังด้านข้างสองด้านและข้างหลังด้วยกระจกส่องหลัง
  2. ป้องกันสายตา โดยสวมแว่นกันแดดเมื่อมีแสงแดดจ้ามาก
  3. กระจกรถไม่ควรเป็นสีมืด นอกจากส่วนบนของกระจกหน้ารถ เพราะความมืดจะทำให้สายตาเลวลง
  4. ไม่สวมแว่นสีขับรถตอนกลางคืน เพราะทำให้สายตาที่เลวอยู่ในที่มืดยิ่งเลวมากขึ้น
  5. เลือกขับรถที่มีสีที่เห็นได้ง่าย เช่น สีขาว ซึ่งตามสถิติพบว่ารถสีขาวถูกชนน้อยที่สุด และรถสีเทาถูกชนบ่อยที่สุด
  6. หลีกเลี่ยงเครื่องประดับรถที่เป็นโลหะสะท้อนแสง
  7. เมื่อจำเป็นต้องขับรถทางไกลในเวลากลางคืน ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกวิ่งในทางหลวงที่เป็นแยกออกจากกัน เพื่อแสงจากรถที่สวนมาจะอยู่ห่าง ทำให้แสงเข้าตาน้อย ตาไม่พร่า
  8. คนที่มีอายุมาก หรือคนที่เป็นโรคทางตา สายตาเลวลง ต้องยอมรับความจริงไม่ควรขับรถโดยเฉพาะเวลากลางคืน

เหล่านี้อาจดูเหมือนเป็นสิ่งที่รู้แล้ว แต่หากไม่นำไปปฏิบัติจริง ก็อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ทุกเมื่อ

ประโยชน์ของการประกันภัย

ประโยชน์ของการประกันภัย ที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด

ปัจจุบันกิจการประกันภัยได้เข้ามามีบทบาทต่อมนุษย์มากทั้งในแง่การดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจ แน่นอนมันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับปัจจุบัน และการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของคุณ ควรพูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงิน หรือตัวแทนประกัน ปรึกษาข้อพิจารณาต่างๆในการทำประกัน วางแผนก่อนที่จะซื้อประกันภัย หรือประกันชีวิตเพื่อให้แน่ใจว่าคุณและครอบครัวจะได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอในกรณีการเกิดเหตุที่ไม่คาดคิด

1. ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย
ให้ความคุ้มครองต่อบุคคล ครอบครัวและทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย เช้นกรณีการประกันชีวิต เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับประโยชน์ก็จะได้รับเงินเอาประกันภัยเป็นอีกก้อนหนึ่ง ถ้าผู้เอาประกันภัยทำประกันอุบัติเหตุควบคู่ไปกับการประกันชีวิตด้วย เพราะเมื่อผู้เอาประกันประสบอุบัติเหตุจนทุพพลภาพถาวร ก็จะมีรายได้สำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลและเป็นค่าเลี้ยงชีพ ซึ่งทำให้ไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น

ช่วย ปลูกฝังให้เกิดนิสัยประหยัดและช่วยให้เกิดการออม การประกันภัยเป็นการบังคับให้ผู้เอาประกันภัยต้องฝึกนิสัยประหยัดไปในตัว ทั้งนี้เพราะต้องเก็บเงินไว้ชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้ได้ตามกำหนดเวลา ผู้เอาประกันภัยจึงไม่สามารถใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายได้เหมือนเดิม และการออมทำให้มีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ยามชรา

2. ประโยชน์ต่อธุรกิจ
ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าจะเกิดกับทรัพย์สิน หรือเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง

ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจในการทำธุรกิจ เวลาของนักบริหารเป็นสิ่งที่มีค่า เพราะผู้บริหารมีงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบมาก ความเสี่ยงภัยก็เป็นอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารที่ดีต้องตระหนักถึงอยู่เสมอใน การดำเนินธุรกิจ

ช่วยในการขยายเครดิต การประกันภัยช่วยให้การกู้ยืมดำเนินไปอย่างสะดวกราบรื่นขึ้น เพราะการประกันภัยจะช่วยสร้างเครดิตให้แก่ผู้กู้

ช่วย ให้เกิดเสถียรภาพในต้นทุนการผลิต นักธุรกิจที่กำลังเผชิญอยู่กับความเสี่ยงภัยย่อมต้องหาหนทางหรือวิธีที่จะมา จัดการกับความเสี่ยงภัย การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัยโดยเสียเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่ง ที่แน่นอนตามที่ตกลงกันไว้

ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภัยมากๆ เช่น ธุรกิจระหว่างประเทศ

3. ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
ช่วยระดมทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากบริษัทประกันภัยจะได้รับค่าตอบแทนในการรับภาระความเสี่ยงภัยแทนผู้ เอาประกันภัยในรูปของเบี้ยประกันภัย

ช่วยลดภาระแก่สังคมและรัฐบาล เนื่องจากประกันภัยทำให้บุคคลแต่ละคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง

วันเสาร์

การประกันอัคคีภัย

อัคคีภัยการประกันอัคคีภัย – Fire insurance

ในช่วงเทศกาลต่างๆ มักจะมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นเสมอทุกปี อุบัติเหตุที่เกิดจากเพลิงไหม้อาจเกิดจากสิ่งที่เรามองไม่เห็น เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร แต่หากเกิดขึ้นมีทางไหนบ้างที่จะทุเลาการสูญเสียทรัพย์สินของท่าน การทำประกันอัคคีภัยเป็นหนทางหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สามารถแบ่งออกได้เป็น

  • สำหรับที่อยู่อาศัย
  • ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย

การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย

กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่ เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ดังนี้

ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจร จากฟ้าผ่า) ระเบิดทุกชนิด ยานพาหนะหรือช้าง ม้า วัว ควาย ภัยจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากยานอวกาศ ภัยเนื่องมาจากน้ำ

นอกจากนี้แล้วยังภัยบางกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครอง คือ สงคราม การเมือง นิวเคลียร์ การเผาทรัพย์สิน (โดยคำสั่งเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานผู้มีอำนาจตามกฏหมาย)

ความเสียหายทางอ้อม เช่น ความเสียหายที่เกิดจากน้ำหรือสารดับเพลิงอื่นๆ ที่ใช้ดับไฟทำให้ทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเปียกและเสียหาย หรือความเสียหายจากการพังบ้านหรือตะลุยทางเข้าไปดับเพลิง หรือเจ้าหน้าที่ไปยืนบนหลังคาบ้านของผู้เอาประกันภัยเพื่อฉีกน้ำเข้าไปยัง บ้านที่ถูกไฟไหม้ ทำให้กระเบื้องหลังคาแตกเสียหาย ความเสียหายจากควันหรือความร้อนจากไฟ หรือความเสียหายเนื่องจากกำแพง หรือชิ้นส่วนอาคารทีถูกไฟไหม้หล่นทับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเสียหาย

นอกจากความคุ้มครองดังกล่าวแล้ว หากผู้เอาประกันภัยต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมก็สามารถซื้อเพิ่มเติมโดย จ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มได้ ภัยที่สามารถขอซื้อเพิ่มได้แก่ ภัยลมพายุ ภัยน้ำท่วม ภัยลูกเห็บ ภัยแผ่นดินไหว เป็นต้น ภัยจากสังคม เช่น ภัยจากการจลาจลนัดหยุดงาน และภัยอื่นๆ เช่น ภัยจากควันที่เกิดจากเครื่องทำความร้อน และเครื่องปรุงอาหาร

ในการทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยนี้ ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ 2 แบบ

1. แบบปกติ โดยการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
2. แบบการชดใช้ ตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่

หากกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น การกำหนดเงินเอาประกันภัยไว้คลาดเคลื่อน แต่ไม่ต่ำกว่า 70% ของมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (โดยผู้เอาประกันภัยไม่ตั้งใจ) บริษัทประกันภัย จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มความเสียหายที่แท้จริง แต่ถ้ากำหนดไว้ต่ำกว่า 70% ของมูลค่าที่แท้จริงแล้ว บริษัทจะนำเอาหลักการเฉลี่ยความเสียหายเข้ามาใช้ ซึ่งจะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับการชดใช้สินไหมทดแทนต่ำว่า 70% ของความเสียหายที่เกิดขึ้น

ผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้โดยแจ้งให้บริษัทที่ทำประกันอัคคีภัยไว้ทราบทันที พร้อมส่งหลักฐานและเอกสารภายใน 30 วัน นับแต่วันเกิดความเสียหาย โดยต้องทำหนังสือแจ้งรายละเอียดของทรัพย์สินที่เสียหายและจำนวนเงินค่าเสีย หายของทรัพย์สินนั้นอย่างละเอียด พร้อมกันนี้ต้องแสดงหรือจัดหาพยานหลักฐานต่างๆ ข้อพิสูจน์ และข้อความเกี่ยวกับการเรียกร้องต้นเพลิงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรักษาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ แม้หลังเกิดความเสียหายแล้วซากทรัพย์นั้นจะไม่มีมูลค่าเลยก็ตาม เพื่อหลักฐานแห่งความเสียหาย

การจัดฉากข่มขู่ผู้ใช้รถยนต์

Q: เป้าหมายของการหลอกเคลมประกันคือใคร?
รถที่ทำผิดกฏหมาย โดยทำการซุ่มรออยู่บริเวณที่คนทำผิดกฏหมายกันบ่อยๆ หรือติดตามมาจากร้านอาหารที่มีการขายเหล้า

หากได้รับการข่มขู่แบบนี้ จะจัดการอย่างไร?
ในกรณีที่เมาแล้วขับ หรือฝ่าฝืยกฏจราจรจนเกิดอุบัติเหตุนั้น ไม่ควรจะกลัวการข่มขู่ของผู้เสียหายแล้วยอมทำตาม แต่ควรที่จะแจ้งบริษัทประกันภัยให้เข้ามาดูสถานที่เกิดเหตุ แล้วช่วยจัดการกับเหตุที่เกิดขึ้นไปตามกระบวนการนั้นจะเป็นการที่ดีกว่า

ชำระเบี้ยฯ ด้วยมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์

ชำระเบี้ยประกันภัย ด้วยมูลค้่เงินสดในกรมธรรม์

Pay with Cash Values from the Policy

เมื่อผู้เอาประกันภัย ต้องประสบกับปัญหาทางด้านการเงิน หลายคนเลือกที่จะหยุดการชำระเบี้ยประกันภัย จนต้องยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ ทำให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับ และไม่ได้รับความคุ้มครองอีกต่อไป

ในกรณีนี้เรามีทางออกให้กับผู้เอาประกัน โดยที่ผู้เอาประกันไม่ต้องยกเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์แต่อย่างใด ทั้งยังได้รับความคุ้มครองต่อไปได้ ทางออกที่ว่านี้คือ การกู้้มูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ประกันชีวิตของตนเองมาชำระค่าเบี้ยประกัน เพราะกรมธรรม์ที่มีเงื่อนไขการกู้ หากชำระเบี้ยประกันจนเกิดมูลค่าเงินเวนคืนแล้ว ผู้เอาประกันสามารถใช้สิทธิ์กู้เงินเพื่อชำระเบี้ยประกันได้

แต่ทั้งนี้การกู้มูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ประกันชีวิต จะมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เกิดขึ้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับกรมธรรม์แต่ละแบบ โดยบริษัทประกันชีวิต จะคิดดอกเบี้ยทบต้นหากค้างชำระดอกเบี้ยเงินกู้เกินปี

สำหรับขั้นตอนในการกู้มูลค่าเงินสดในกรมธรรม์นั้นก็ไม่ยุ่งยาก เพียงผู้เอาประกันนำหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน และกรมธรรม์มาติดต่อที่สำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานสาขา เพียงเท่านี้ปัญหาทุกอย่างก็มีทางออกให้คุณเสมอ

วันศุกร์

สิทธิการเลือกใช้มูลค่ากรมธรรม์ประกันภัย

สิทธิการเลือกใช้มูลค่ากรมธรรม์ประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันต้องการยกเลิกสัญญา และมีความจำเป็นต้องการนำเงินไปใช้จ่าย ก็ขอเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้ หรือจะหยุดชำระเบี้ยประกันด้วยการแปลงกรมธรรม์ก็ทำได้ กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบถาวรต่างๆ ซึ่งมีส่วนของการออมทรัพย์ เช่นแบบตลอดชีพ แบบสะสมทรัพย์ เมื่อผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันชีวิตติดต่อกันมาแล้ว 2 ปีหรือ 3 ปีขึ้นไป กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นจะมีมูลค่าเงินสดหรือมูลค่ากรมธรรม์เกิดขึ้น ซึ่งผู้เอาประกันมีสิทธิเลือกมูลค่ากรมธรรม์ประกันภัยได้ 3 วิธี
  1. รับมูลค่าเงินสด
    เมื่อผู้เอาประกันชีวิตไม่ต้องการความคุ้มครองจากการประกันชีวิตต่อไป หรือต้องการนำเงินไปใช้ในสิ่งจำเป็น ก็เลือกรับมูลค่าเวนคืนเงินสดจากบริษัทได้ สัญญาประกันชีวิตเป็นอันสิ้นสุด
  2. มูลค่าใช้เงินสำเร็จ
    เมื่อผู้เอาประกันชีวิตไม่สามารถชำระเบี้ยประกันชีวิตตตตงต้องการความคุ้ม ครองจากการประกันชีวิตอยู่ก็แจ้งบริษัทโดยขอเปลี่ยนเป็นการประกันแบบมูลค่า ใช้เงินสำเร็จและหยุดชำระเบี้ยประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันชีวิตยังได้รับการคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิต ฉบับเดิมทุกประการ แต่จำนวนเงินเอาประกันชีวิตจะลดลงจากเดิม เพราะบริษัทจะนำมูลค่าเงินสดที่กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับนี้มีอยู่มาชำระ เบี้ยประกันชีวิตครั้งเดียวเพื่อซื้อสัญญาประกันชีวิตแบบเดิม โโยมีจำนวนเงินเอาประกันชีวิตลดลง
  3. มูลค่าขยายเวลา
    เมื่อผู้เอาประกันชีวิตไม่ประสงค์จะชำระเบี้ยประกันชีวิตต่อไป แต่ต้องการได้รับความคุ้มครองในจำนวนเงินเอาประกันชีวิตเท่าเดิม สามารถแจ้งให้บริษัทเปลี่ยนการประกันมาเป็นการประกันชีวิตแบบขยายเวลาได้ คือถ้าผู้เอาประกันชีวิตตายบภายในระยะเวลาที่กำหนด บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ แต่ถ้าผู้เอาประกันชีวิตมีชีวิตอยู่รอดครบกำหนดสัญญาตามระยะเวลาที่ขยายไว้ สัญญาเป็นอันสิ้นสุด ในการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์บางกรมธรรม์มูลค่าเงินสดจะมีมากจนเมื่อขยาย เวลาจนครบตามสัญญากรมธรรม์ประกันชีวิตเดิมแล้วยังมีจำนวนเงินสะสมทรัพย์ที่ แท้จริงเหลืออยู่อีกก้อนหนึ่ง ซึ่งจะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันที่มีชีวิตรอดอยู่จนสัญญาครบกำหนด

วันอังคาร

อุทาหรณ์ใช้มือถือส่งข้อความขณะขับรถ

อุทาหรณ์การใช้มือถือส่งข้อความขณะขับรถ
 

หวัง ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นอุทาหรณ์ ในการมีจิตสำนึก และเห็นถึงโทษภัยของความประมาท จากการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ คลิปวิดีโอนี้แสดงภาพอุบัติเหตุ และมีผู้เสียชีวิต


หวัง ว่าหลังจากได้ชมภาพยนตร์นี้ ผู้ขับขี่ควรจะคิดเป็น 2 เท่าก่อนจะหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาขณะที่อยู่หลังพวกมาลัย และได้รับรู้ว่าความพยายามส่งข้อความหรือรับโทรศัพท์อย่างเร่งด่วนนั้น มันไม่มีค่าเพียงพอที่คุณจะนำชีวิตของคุณและคนอื่นๆมาเสี่ยงด้วย

วันจันทร์

เช็ครถหลังเกิดอุบัติเหตุ

รถใหม่ ใครก็หวงก็รัก แต่ระมัดระวังแค่ไหนก็ยังเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะมือใหม่เพิ่งมีรถขับเป็นครั้งแรกอาจจะยังเริ่มต้นทำอะไรไม่ถูกเมื่อ เกิดอุบัติเหตุกับรถคันอื่น ถ่ายเอกสารสิ่งที่คุณควรทำต่อไปนี้ติดรถไว้เสมอเพื่อจัดการกับปัญหาที่จะ เกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น

จอดรถพร้อมกับตรวจเช็คความเสียหาย เปิดไฟกระพริบขณะจอดรถ และตรวจสอบความเสียหายของฝ่ายคุณก่อนเป็นอันดับแรก

แรกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละฝ่าย

  • ชื่อ ที่อยู่พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • หมายเลขทะเบียนรถ และหมายเลขรถ และหมายเลขใบอนุญาติขับขี่รถยนต์
  • ชื่อพร้อมเบอร์โทรของบริษัทประกันภัย
  • รายละเอียดของรถยนต์ เช่น ยี่ห้อ รุ่น สี
หาพยาน เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น (ปัจจุบันสะดวก มีโทรศัพท์ที่สามารถถ่ายรูปได้)
เรียกประกัน เพื่อตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ
ติดต่อตำรวจ แม้จะเป็นอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ เพราะคุณอาจจำเป็นต้องใช้รายงานความเสียหายของตำรวจเพื่อเคลมกับบริษัทประกันภัย