ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

วันอาทิตย์

บำนาญเลี้ยงชีพ

บำนาญเลี้ยงชีพ

การประกันชีวิตแบบ บำนาญเลี้ยงชีพ

Annuity Life Insurance

การประกันชีวิตแบบ บำนาญเลี้ยงชีพ เป็นรูปแบบการสร้างหลักประกันรายได้อย่างหนึ่งที่แตกต่างไปจากการประกันชีวิตโดยทั่วไป คือเป็นการประกันชีวิตที่มุ่งเน้นการออมเงินในขณะที่ผู้ออมกำลังอยู่ในวัยทำงานและเป็นผู้มีรายได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บไว้เป็นรายได้ยามชราภาพ การประกันชีวิตประเภทนี้เป็นการประกันชีวิตรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทยจึงเป็นความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสังคมไทยในยุคนี้

การประกันชีวิตแบบบำนาญเลี้ยงชีพ หรือแบบมีเงินได้ประจำรายปีนี้ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินผลประโยชน์ตามความสามารถทางการออมเงิน ณ ขณะนั้น และเป็นไปตามความต้องการของผู้เอาประกันที่ได้มีการวางแผนไว้ในวงเงินที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอทุกปีให้แก่ผู้เอาประกันภัย นับตั้งแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุหรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี แล้วแต่เงื่อนไขที่กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดไว้ การประกันรูปแบบนี้จะเน้นไปที่การออมทรัพย์มากกว่าการคุ้มครอง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีรายได้ภายหลังเกษียณอายุ หรือผู้ที่ต้องการสร้างเงินบำนาญไว้เพื่อใช้จ่ายในยามชรา

ความสำคัญและความจำเป็นของการประกันชีวิตแบบบำนาญเลี้ยงชีพนั้น หากลองคำนวนเงินได้ที่จำเป็นต้องเตรียมไว้เพื่อการยังชีพภายหลังเกษียณอายุด้วยวิธีง่ายๆ เช่นสมมุติว่าแต่ละคนต้องการมีเงินหลังเษียณอายุเดือนละ 10,000 บาท โดยคาดว่าจะมีชีวิตหลังเกษียณไปอีก 10 ปี บุคคลดังกล่าวจำเป็นต้องมีเงินออม (ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ 4 % ต่อปี) เพื่อไว้ใช้จำนวน 1.4 ล้านบาท แต่ถ้าคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณไปอีก 20 ปี จะต้องมีเงินออมสะสมสูงถึง 3.5 ล้านบาทจึงจะเพียงพอตามคาดคะเน แต่หากต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณขำนวนที่มากกว่านี้ก็ยิ่งจำเป็นต้องสะสมเงินออมมากขึ้นกว่าเดิม รายละเอียดตามตาราง

จำนวนเงินที่ต้องการหลังเกษียณ
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ จำนวนเงินที่ต้องการเมื่อเกษียณ *
ชีวิตหลังเกษียญ 10 ปี (อายุ 70 ปี)
ชีวิตหลังเกษียณ 20 ปี (อายุ 80 ปี)
10,000 บาท 1.4 ล้านบาท 3.5 ล้านบาท
15,000 บาท 2.1 ล้านบาท 5.3 ล้านบาท
20,000 บาท 2.8 ล้านบาท 7.0 ล้านบาท
หมายเหตุ *ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 4% ต่อปี

ดังนั้น ผู้อยู่ในวัยแรงงานทุกคนจึงต้องตระหนักว่าควรจะวางแผนการออมอย่างไรให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นภายหลังเกษียณอายุ ซึ่งไม่เพียงแต่ค่าใช้จ่ายเพื่อการยังชีพเท่านั้นที่ต้องเตรียมความพร้อมยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่นๆ ที่จะต้องเตรียมไว้ด้วย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นการประกันชีวิตแบบมีเงินได้ประจำรายปีหรือบำนสญเลี้ยงชีพ (Annuity Life Insurance) สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ ซึ่งการประกันชีวิตแบบบำนาญเลี้ยงชีพครอบคลุมหลักการทั้ง 4 ประการดังนี้

  1. ประการที่ 1 การมีรายได้เพียงพอหลังเกษียณอายุ
    ผู้ที่ทำประกันชีวิตสามารถกำหนดเงินได้ในอนาคตตามความเหมาะสมของรายได้ในปัจจุบันและยังสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนเงินออมได้ตลอดเวลาที่มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เงินได้ยามเกษียณเพียงพอกับความต้องการในขณะนั้น
  2. ประการที่ 2 ระบบมีความครอบคลุมแรงงานอย่างทั่วถึง
    การประกันชีวิตสามารถเข้าถึงประชาชนทุกระดับทุกอาชีพได้โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายที่มีมากมายและหลากหลาย เช่น การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต ปัจจุบันมีจำนวนตัวแทนที่ลงทะเบียนเป็นตัวแทนอย่างถูกต้องกว่าสามแสนคน การขายผ่านธนาคารซึ่งช่องทางดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมของประชาชนเป็นอย่างมาก การขายผ่านทางโทรศัพท์ และการขายทางไปรษณีย์ เป็นต้น
  3. ประการที่ 3 ระบบมีความเป็นไปได้ทางการเงินในระยะยาว
    เบี้ยประกันชีวิตที่เข้าสู่ธุรกิจจัดเป็นเงินออมระยะยาว บริษัทประกันชีวิตจะนำเงินดังกล่าวที่ยังถือเป็นเงินของผู้เอาประกันภัยไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและมีความเสี่ยงในระดับต่ำ โดยนโยบายการลงทุนของบริษัทประกันชีวิตส่วนใหญ่จะค่อนข้างอนุรักษ์นิยม
  4. ประการที่ 4 ระบบเป็นเครื่องมือพัฒนาและสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
    ลักษณะเงินลงทุนของธุรกิจประกันชีวิตนอกจากจะเป็นเงินลงทุนระยะยาวแล้วยังมีความสม่ำเสมอของการไหลเข้าของเงินออมในแต่ละงวด ทำให้เงินทุนดังกล่าวมีความสำคัญต่อการนำไปลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

สำหรับลักษณะของการกำหนดเงินสมทบประกันบำนาญทั่วไป มี 2 แบบ คือ

  1. แบบ DC (Define Contribution) กล่าวคือ เก็บออมเท่าไร ทั้งหมดถือเป็นเงินบำเหน็จที่ต้องการใช้หลังเกษียณ
  2. แบบ DB (Define Benefit) จะเป็นการคำนวณตามความต้องการของลูกค้า เช่น ต้องการบำเหน็จ 1 ล้านบาท หลังเกษียณ ก็จะมีการคำนวณการจัดเก็บเบี้ยในแต่ละปี เพื่อให้ได้เงินก้อนตามต้องการใช้จ่ายหลังเกษียณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น