ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

วันเสาร์

การประกันอัคคีภัย

อัคคีภัยการประกันอัคคีภัย – Fire insurance

ในช่วงเทศกาลต่างๆ มักจะมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นเสมอทุกปี อุบัติเหตุที่เกิดจากเพลิงไหม้อาจเกิดจากสิ่งที่เรามองไม่เห็น เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร แต่หากเกิดขึ้นมีทางไหนบ้างที่จะทุเลาการสูญเสียทรัพย์สินของท่าน การทำประกันอัคคีภัยเป็นหนทางหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สามารถแบ่งออกได้เป็น

  • สำหรับที่อยู่อาศัย
  • ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย

การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย

กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่ เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ดังนี้

ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจร จากฟ้าผ่า) ระเบิดทุกชนิด ยานพาหนะหรือช้าง ม้า วัว ควาย ภัยจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากยานอวกาศ ภัยเนื่องมาจากน้ำ

นอกจากนี้แล้วยังภัยบางกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครอง คือ สงคราม การเมือง นิวเคลียร์ การเผาทรัพย์สิน (โดยคำสั่งเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานผู้มีอำนาจตามกฏหมาย)

ความเสียหายทางอ้อม เช่น ความเสียหายที่เกิดจากน้ำหรือสารดับเพลิงอื่นๆ ที่ใช้ดับไฟทำให้ทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเปียกและเสียหาย หรือความเสียหายจากการพังบ้านหรือตะลุยทางเข้าไปดับเพลิง หรือเจ้าหน้าที่ไปยืนบนหลังคาบ้านของผู้เอาประกันภัยเพื่อฉีกน้ำเข้าไปยัง บ้านที่ถูกไฟไหม้ ทำให้กระเบื้องหลังคาแตกเสียหาย ความเสียหายจากควันหรือความร้อนจากไฟ หรือความเสียหายเนื่องจากกำแพง หรือชิ้นส่วนอาคารทีถูกไฟไหม้หล่นทับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเสียหาย

นอกจากความคุ้มครองดังกล่าวแล้ว หากผู้เอาประกันภัยต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมก็สามารถซื้อเพิ่มเติมโดย จ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มได้ ภัยที่สามารถขอซื้อเพิ่มได้แก่ ภัยลมพายุ ภัยน้ำท่วม ภัยลูกเห็บ ภัยแผ่นดินไหว เป็นต้น ภัยจากสังคม เช่น ภัยจากการจลาจลนัดหยุดงาน และภัยอื่นๆ เช่น ภัยจากควันที่เกิดจากเครื่องทำความร้อน และเครื่องปรุงอาหาร

ในการทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยนี้ ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ 2 แบบ

1. แบบปกติ โดยการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
2. แบบการชดใช้ ตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่

หากกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น การกำหนดเงินเอาประกันภัยไว้คลาดเคลื่อน แต่ไม่ต่ำกว่า 70% ของมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (โดยผู้เอาประกันภัยไม่ตั้งใจ) บริษัทประกันภัย จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มความเสียหายที่แท้จริง แต่ถ้ากำหนดไว้ต่ำกว่า 70% ของมูลค่าที่แท้จริงแล้ว บริษัทจะนำเอาหลักการเฉลี่ยความเสียหายเข้ามาใช้ ซึ่งจะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับการชดใช้สินไหมทดแทนต่ำว่า 70% ของความเสียหายที่เกิดขึ้น

ผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้โดยแจ้งให้บริษัทที่ทำประกันอัคคีภัยไว้ทราบทันที พร้อมส่งหลักฐานและเอกสารภายใน 30 วัน นับแต่วันเกิดความเสียหาย โดยต้องทำหนังสือแจ้งรายละเอียดของทรัพย์สินที่เสียหายและจำนวนเงินค่าเสีย หายของทรัพย์สินนั้นอย่างละเอียด พร้อมกันนี้ต้องแสดงหรือจัดหาพยานหลักฐานต่างๆ ข้อพิสูจน์ และข้อความเกี่ยวกับการเรียกร้องต้นเพลิงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรักษาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ แม้หลังเกิดความเสียหายแล้วซากทรัพย์นั้นจะไม่มีมูลค่าเลยก็ตาม เพื่อหลักฐานแห่งความเสียหาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น