ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

วันพฤหัสบดี

การลงทุนอย่างพอเพียง

“พอเพียง สำหรับผู้ลงทุนได้ยาวๆ หมายถึง
มีเป้าว่าเราอยากได้เท่าไหร่ ในระยะแค่ไหน”

อย่างเช่นอยากมีเงิน 10 ล้าน ในอีก 20 ปีข้างหน้า วันนี้มีแล้ว 1 ล้านบาท ลงทุนเพิ่มได้เดือน
ละ 20,000 บาท เราก็ทำได้ หากได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสะสมเฉลี่ยปีละ 9.22%
ซึ่งหากเอาเป้าหมาย 9.22% นี้มาจัดพอร์ตลงทุนที่เหมาะสมได้ โดยกระจายการลงทุนไปใน
สินทรัพย์หลักๆ อย่าง หุ้น ตราสารหนี้ กับทางเลือกอื่น เช่น ทองคำ อสังหาฯ เป็นต้น ว่าจะลงทุน
ในอะไร ในสัดส่วนอย่างละเท่าไหร่ จึงน่าจะทำให้ได้รับตอบแทนเฉลี่ย 9.22% ต่อปี ที่จะทำให้เรา
ถึงเป้าหมายได้อย่างพอเพียงใน 20 ปีข้างหน้า

สมมติว่าเราจัดสรรเงินลงทุนเป็น ...
หุ้น 70% ตราสารหนี้ 20% ทางเลือกอื่น 10%

ปรากฏว่าในปีก่อน หุ้นให้ผลตอบแทนถึง 40% ตราสารหนี้ 3% ทางเลือกอื่น 7%
ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งหมดจะเป็น 29.30% ในปีก่อน เพราะเราลงทุนหุ้นในสัดส่วนเยอะ และหุ้นใน
ปีก่อนให้ผลตอบแทนสูงมาก

สัดส่วนใหม่ของเราในช่องขวาสุดในภาพ จะกลายเป็น ...
หุ้น 75.79% ตราสารหนี้ 15.93% ทางเลือกอื่น 8.28%





ซึ่งสัดส่วนหุ้นจะสูงกว่าที่เราตั้งเป้าไว้ ในขณะที่อย่างอื่นมีสัดส่วนต่ำลง เราจึงน่าจะลดสัดส่วน
ในหุ้น (ซึ่งก็คือการขายได้ในราคาสูง) แล้วเอาไปลงทุนในอื่นๆ เพื่อให้ทั้งหมดคงสัดส่วนที่
70/20/10 ไว้ตามเป้าหมายที่เราเคยกำหนดว่าหากไปถึงเราก็จะรวยพอแล้ว

นี่คือการเข้าใจตนเอง ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเราต้องการเท่าไหร่ แล้วคอยรักษาสัดส่วนไว้ (ดูปีละ
ครั้ง สองครั้งก็พอ) ทำให้เราไม่หลงระเริงไปกับความโลภซึ่งอาจทำให้เรารวยขึ้นหรือจนลง

นี่คือวิธีการลงทุนอย่างพอเพียง

ส่วนผู้ลงทุนระยะสั้น นักเก็งกำไร ก็ใช้วิธีตั้งเป้าหมายกำไรกี่ % แล้วจึงจะพอ พอถึงเป้าหมาย
ก็ต้องรู้จักขายทิ้ง อย่าไปปล่อยให้ความโลภมาทำให้ผิดวินัย และต้องตั้งเป้าหมายด้วยว่าจะรับ
การขาดทุนได้ไม่เกินกี่ % ซึ่งหากขาดทุนไปถึงระดับที่กำหนดแล้วก็ต้องรู้จักหยุดการขาดทุน
ด้วยการขายทิ้งไปก่อน (Cut Loss หรือ Stop Loss) แล้วเก็บเงินสดไว้รอลงทุนในรอบใหม่ได้
เพราะยังมีโอกาสให้ลงทุนได้เรื่อยๆ

นี่คือวิธีการเก็งกำไรอย่างพอเพียง

source: คุณวรวรรณ ธาราภูมิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น