การประกันชีวิต (Insurance)
source: วิโรจน์ ว่องประเสริฐ
Insurance แปลเป็นภาษาไทยว่า การประกันชีวิต ผู้บัญญัติคำว่าประกันชีวิตเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสาธยายว่าประกันชีวิตมาจาก
ประ ประหยัด
กัน กันความยากจน
ชีวิต ชีวิตผาสุก
ซึ่งพูดรวมฯ ว่าประหยัดเพื่อกันความยากจน ทำให้ชีวิตมีความผาสุก แต่เนื่องจากต้องการเขียนให้กระทัดรัดก็เลยใช้คำว่า ประกันชีวิต แต่นักขายประกันชีวิตไม่น้อย ที่อธิบายคำว่าประกันชีวิตไปต่างๆ นานา
- การออมทรัพย์ที่มีความคุ้มครองของยอดเงินฝาก การออมทรัพย์ระยะยาวเพื่อเป็นกองมรดก
- การซื้อเงินก้อนโตโดยระบบเงินผ่อนส่ง
- การสร้างทุนการศึกษา
- การสร้างสวัสดิการให้ครอบครัว
- การสร้างบำเหน็จบำนาญในวัยชราให้กับตนเอง
- การสร้างความมั่นคงทางรายได้
แต่จะอธิบายอย่างไรก็เรียกว่า การประกันชีวิต อยู่ดีชวนคนมาฝากเงิน แต่เวลาพูดก็ใช้คำว่า ขายประกันชีวิต อยู่ดีชวนคนมาฝากเงิน แต่เวลาพูดก็ใช้คำว่า ขายประกันชีวิต
เงินฝาก ก็เรียกว่า เบี้ยประกันชีวิต
เก็บเงินฝาก หรือให้ออมเงินก็เรียกว่า ชำระเบี้ยประกันภัย เวลาครบกำหนดเก็บ มีหนังสือไปชวนเชิญให้ฝากต่อ ก็ใช้คำว่า เตือนการชำระเบี้ยประกันภัย
ผู้ฝากเงิน ก็เรียกว่า ผู้เอาประกันภัย
ผู้รับฝากเงิน ก็เรียกว่า ผู้รับประกันภัย
อ่านหรือฟังดูแล้วไม่ชวนเชิญให้น่าสนใจและต้องมาเสียเวลาสาธยายกับความหมายของคำว่าประกันชีวิต เช่น ชีวิตประกันไม่ได้หรอกแต่เป็นการประกันค่าของชีวิต หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นหากชีวิตมีอันเป็นไป
บางคนถึงกับปฏิเสธที่จะทำประกันชีวิต บอกว่าเหมือนเป็นลางร้ายของชีวิตการแช่งตนเองเพราะคำว่าประกันชีวิตนี่เอง
แต่คำว่า ประกันชีวิต ก็ใช้กันมานานแล้ว นานเกินกว่าที่จะคิดแก้ไขได้ และคนในวงการประกันชีวิตก็เคยชินต่อคำอธิบายประกอบเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจถูกต้องชัดเจน
บางคนบอกว่า เวลาไปขายประกันชีวิตจะปฏิเสธแต่แรกเลยว่า "ผมจะไม่มาพูดเรื่องประกันชีวิตกับลูกค้าแต่ผมจะมาชวนดูแลลูกค้า วางแผนค่าใช้จ่ายในวัยชราเกษียณอายุ และสุดท้ายปลดภาระหนี้สิน" ซึ่งฟังๆ ดูแล้วก็ชวนฟังกว่าที่จะพูดว่า "ผมจะมาพูดเรื่องประกันชีวิต"
ตามที่ทราบกันว่า ประกันชีวิต เป็นการฝากออมทรัพย์อย่างเป็นระบบ และมีสวัสดิการคุ้มครองให้แก่ผู้ฝาก ดังนั้นคนที่ไปหาประกันชีวิต ก็คือผู้ที่ไปชวนให้เปิดบัญชีฝากเงินกับบริษัทประกันชีวิต
คนขายประกันชีวิต ภาษากฏหมายก็เรียกว่า ตัวแทน ซึ่งแปลงมาจาก ผู้แทน เพราะกลัวว่าจะไปอ้างอิงใกล้เคียงกับการเรียก ผู้แทนราษฎร คำว่า ตัวแทน ไม่น่าฟังเท่าคำว่า ผู้แทน บางกลุ่มก็เรียกตนเองว่า พวกเราคือคนประกันชีวิต ตัดคำว่าขายออกไป หลายคนเวลาพิมพ์นามบัตร ก็ใช้คำว่า ที่ปรึกษาบ้าง หรือผู้แนะนำบ้าง เช่น ที่ปรึกษาโครงการการศึกษาของบุตรธิดา ที่ปรึกษาโครงการออมเงินเดือน ที่ปร฿กษาโครงการกองทุนเกษียณอายุ
จึงมีความเห็นว่า ไม่ต้องไปหาอะไรมาเปลี่ยนแปลงคำเรียก แต่ให้โลกรับรู้ว่านี่แหละคนขายประกันชีวิต นี่แหละประกันชีวิต และพยายามสร้างภาพพจน์ที่ดีจากคนที่อยู่ในอาชีพให้ปรากฏออกไป เป็นการสร้างภาพลักษณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น