ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

วันศุกร์

วางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ

การวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ เป็นแนวคิดที่เกิด จากความต้องการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองตั้งแต่เริ่มต้นทำงานจน กระทั่งเกษียณ จนตายในที่สุด โดยไม่ต้องเป็นภาระแก่ลูกหลานหรือสังคม
การวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณเป็นกระบวนการที่แต่ละคนจะต้องกำหนด มาตราฐานการครองชีพที่ต้องการหลังเกษียณ เพื่อคำนวนเงินที่ต้องการ ณ วันที่เกษียณ แล้ววางแผนในการออมและการลงทุนตั้งแต่ปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามจำนวนเงินที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการวางแผนทางการเงินเป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้ระยะเวลา 20-30 ปี หลายๆ คนจึงมักมองข้ามความสำคัญของการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องของอนาคตที่ยังอยู่ห่างไกล ส่งผลทำให้ละเลยไปเรื่อยๆ จนเวลาล่วงเลยเข้าใกล้วัยเกษียณจึงค่อยมาตื่นตัว แต่นั่นก็อาจสายจนเกินไปเพราะเงินจำนวนมากมายที่คุณต้องการใช้หลังเกษียณก็ จำเป็นต้องใช้การสะสมเป็นเวลานานเช่นกัน
การวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณจึงเป็นกระบวนการที่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันที่คุณเริ่มต้นทำงาน โดยอาจกำหนดเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. การเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ ก่อนที่คุณจะวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ คุณต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินให้เพียงพอก่อน อย่างน้อยเก็บเงินสดซึ่งอาจอยู่ในรูปของบัญชีเงินฝากให้พอสำหรับเป็นค่าใช้ จ่ายให้ได้สัก 6 เดือน และทำประกันภัยทั้งรถยนต์ ที่พักอาศัย สุขภาพและชีวิตให้ครบถ้วน เพื่อที่ว่าเงินที่ลงทุนไว้ใช้หลังเกษียณจะได้ไม่ต้องถูกนำมาใช้เป็นค่าใช้ จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาที่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ตกงาน อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย
  2. การคาดการณ์จำนวนเงินที่ต้องการใช้ทั้งหมดหลังเกษียณ ทั้งนี้คุณต้องเริ่มคาดการณ์อายุขัยเฉลี่ยของตนเอง โดยอาจดูแนวทางจากอายุขัยเฉลี่ยของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันชายไทยจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 68 ปี ในขณะที่หญิงไทยจะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 75 ปี แล้วทำการปรับประมาณการอายุขัยเฉลี่ยโดยดูจากประวัติสุขภาพของตนเอง รวมทั้งอายุขัยของบุคคลอื่นๆ ในครอบครัว หลังจากนั้นคุณต้องตั้งเป้าหมายว่าจะเกษียณเมื่ออายุเท่าใด ซึ่งก็จะทำให้เห็นตัวเลขคร่าวๆ ว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอีกกี่ปี
    หลังจากนั้นจึงกำหนดมาตราฐานการครองชีพที่ต้องการหลังเกษียณโดยทดลองคำนวน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่คุณต้องการใช้หลังเกษียณในแต่ละปี แต่อย่าลืมว่าค่าใช้จ่ายบางส่วนอาจเพิ่มขึ้น ในการประมาณการค่าใช้จ่ายที่ต้องการหลังเกษียณ คุณต้องเผื่อค่าใช้จ่ายให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะกว่าที่คุณจะเกษียณในอีก 20-30 ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงอาจปรับตัวมากขึ้นหลายเท่าตัว
  3. การวางแผนการออมและการลงทุน เมื่อคุณรู้จำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องการหลังเกษียณ ก็จะต้องทำการเฉลี่ยสะสมจำนวนเงินที่ต้องการ โดยตั้งเป้าหมายในการออมให้ได้ในแต่ละเดือนก่อนที่จะนำเงินเดือนที่ได้รับไป ใช้จ่าย ทั้งนี้คุณสามารถเก็บเงินในแต่ละเดือนให้น้อยลงได้ ถ้าหากคุณรู้จักนำเงินเก็บนั้นไปลงทุนให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ดอกผลมาช่วยลด จำนวนเงินสะสมที่ต้องการ เพียงเท่านี้ก็ช่วยทำให้คุณสามารถดำรงชีวิตหลังเกษียณอยู่ได้อย่างเกษม
เรื่อง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น