ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต

ประกันชีวิต ประกันความมั่นคงเพื่อครอบครัวในอนาคต
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประกันชีวิต แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประกันชีวิต แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์

บำนาญเลี้ยงชีพ

บำนาญเลี้ยงชีพ

การประกันชีวิตแบบ บำนาญเลี้ยงชีพ

Annuity Life Insurance

การประกันชีวิตแบบ บำนาญเลี้ยงชีพ เป็นรูปแบบการสร้างหลักประกันรายได้อย่างหนึ่งที่แตกต่างไปจากการประกันชีวิตโดยทั่วไป คือเป็นการประกันชีวิตที่มุ่งเน้นการออมเงินในขณะที่ผู้ออมกำลังอยู่ในวัยทำงานและเป็นผู้มีรายได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บไว้เป็นรายได้ยามชราภาพ การประกันชีวิตประเภทนี้เป็นการประกันชีวิตรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทยจึงเป็นความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสังคมไทยในยุคนี้

การประกันชีวิตแบบบำนาญเลี้ยงชีพ หรือแบบมีเงินได้ประจำรายปีนี้ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินผลประโยชน์ตามความสามารถทางการออมเงิน ณ ขณะนั้น และเป็นไปตามความต้องการของผู้เอาประกันที่ได้มีการวางแผนไว้ในวงเงินที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอทุกปีให้แก่ผู้เอาประกันภัย นับตั้งแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุหรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี แล้วแต่เงื่อนไขที่กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดไว้ การประกันรูปแบบนี้จะเน้นไปที่การออมทรัพย์มากกว่าการคุ้มครอง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีรายได้ภายหลังเกษียณอายุ หรือผู้ที่ต้องการสร้างเงินบำนาญไว้เพื่อใช้จ่ายในยามชรา

ความสำคัญและความจำเป็นของการประกันชีวิตแบบบำนาญเลี้ยงชีพนั้น หากลองคำนวนเงินได้ที่จำเป็นต้องเตรียมไว้เพื่อการยังชีพภายหลังเกษียณอายุด้วยวิธีง่ายๆ เช่นสมมุติว่าแต่ละคนต้องการมีเงินหลังเษียณอายุเดือนละ 10,000 บาท โดยคาดว่าจะมีชีวิตหลังเกษียณไปอีก 10 ปี บุคคลดังกล่าวจำเป็นต้องมีเงินออม (ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ 4 % ต่อปี) เพื่อไว้ใช้จำนวน 1.4 ล้านบาท แต่ถ้าคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณไปอีก 20 ปี จะต้องมีเงินออมสะสมสูงถึง 3.5 ล้านบาทจึงจะเพียงพอตามคาดคะเน แต่หากต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณขำนวนที่มากกว่านี้ก็ยิ่งจำเป็นต้องสะสมเงินออมมากขึ้นกว่าเดิม รายละเอียดตามตาราง

จำนวนเงินที่ต้องการหลังเกษียณ
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ จำนวนเงินที่ต้องการเมื่อเกษียณ *
ชีวิตหลังเกษียญ 10 ปี (อายุ 70 ปี)
ชีวิตหลังเกษียณ 20 ปี (อายุ 80 ปี)
10,000 บาท 1.4 ล้านบาท 3.5 ล้านบาท
15,000 บาท 2.1 ล้านบาท 5.3 ล้านบาท
20,000 บาท 2.8 ล้านบาท 7.0 ล้านบาท
หมายเหตุ *ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 4% ต่อปี

ดังนั้น ผู้อยู่ในวัยแรงงานทุกคนจึงต้องตระหนักว่าควรจะวางแผนการออมอย่างไรให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นภายหลังเกษียณอายุ ซึ่งไม่เพียงแต่ค่าใช้จ่ายเพื่อการยังชีพเท่านั้นที่ต้องเตรียมความพร้อมยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่นๆ ที่จะต้องเตรียมไว้ด้วย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นการประกันชีวิตแบบมีเงินได้ประจำรายปีหรือบำนสญเลี้ยงชีพ (Annuity Life Insurance) สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ ซึ่งการประกันชีวิตแบบบำนาญเลี้ยงชีพครอบคลุมหลักการทั้ง 4 ประการดังนี้

  1. ประการที่ 1 การมีรายได้เพียงพอหลังเกษียณอายุ
    ผู้ที่ทำประกันชีวิตสามารถกำหนดเงินได้ในอนาคตตามความเหมาะสมของรายได้ในปัจจุบันและยังสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนเงินออมได้ตลอดเวลาที่มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เงินได้ยามเกษียณเพียงพอกับความต้องการในขณะนั้น
  2. ประการที่ 2 ระบบมีความครอบคลุมแรงงานอย่างทั่วถึง
    การประกันชีวิตสามารถเข้าถึงประชาชนทุกระดับทุกอาชีพได้โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายที่มีมากมายและหลากหลาย เช่น การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต ปัจจุบันมีจำนวนตัวแทนที่ลงทะเบียนเป็นตัวแทนอย่างถูกต้องกว่าสามแสนคน การขายผ่านธนาคารซึ่งช่องทางดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมของประชาชนเป็นอย่างมาก การขายผ่านทางโทรศัพท์ และการขายทางไปรษณีย์ เป็นต้น
  3. ประการที่ 3 ระบบมีความเป็นไปได้ทางการเงินในระยะยาว
    เบี้ยประกันชีวิตที่เข้าสู่ธุรกิจจัดเป็นเงินออมระยะยาว บริษัทประกันชีวิตจะนำเงินดังกล่าวที่ยังถือเป็นเงินของผู้เอาประกันภัยไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและมีความเสี่ยงในระดับต่ำ โดยนโยบายการลงทุนของบริษัทประกันชีวิตส่วนใหญ่จะค่อนข้างอนุรักษ์นิยม
  4. ประการที่ 4 ระบบเป็นเครื่องมือพัฒนาและสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
    ลักษณะเงินลงทุนของธุรกิจประกันชีวิตนอกจากจะเป็นเงินลงทุนระยะยาวแล้วยังมีความสม่ำเสมอของการไหลเข้าของเงินออมในแต่ละงวด ทำให้เงินทุนดังกล่าวมีความสำคัญต่อการนำไปลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

สำหรับลักษณะของการกำหนดเงินสมทบประกันบำนาญทั่วไป มี 2 แบบ คือ

  1. แบบ DC (Define Contribution) กล่าวคือ เก็บออมเท่าไร ทั้งหมดถือเป็นเงินบำเหน็จที่ต้องการใช้หลังเกษียณ
  2. แบบ DB (Define Benefit) จะเป็นการคำนวณตามความต้องการของลูกค้า เช่น ต้องการบำเหน็จ 1 ล้านบาท หลังเกษียณ ก็จะมีการคำนวณการจัดเก็บเบี้ยในแต่ละปี เพื่อให้ได้เงินก้อนตามต้องการใช้จ่ายหลังเกษียณ

ทำอย่างไรเมื่อต้องมอบอำนาจ

How-To on Giving an Authorization

การทำธุรกรรมใดๆ ก็ตามหลายคนคงเคยตกอยู่ในสถานภาพของการเป็นผู้รับมอบอำนาจหรือผู้รับมอบฉันทะกันมาบ้างแล้ว

ในการประกันชีวิตก็เช่นกัน โดยเฉพาะในกรณีของการรับเงินคืนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ก็สามารถให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการแทนได้ เพียงแต่ต้องจัดเตรียมเอกสารใดๆ พร้อมลงลายมือชื่อกำกับให้ครบถ้วน ทั้งบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้รับมอบอำนาจหรือมอบฉันทะ หนังสือมอบอำนาจหรือมอบฉันทะที่ลงลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจหรือมอบฉันทะและผู้รับมอบอำนาจหรือรับมอบฉันทะแล้ว และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจหรือมอบฉันทะ พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง ทั้งนี้ ก็เพื่อรักษาสิทธิ์และความปลอดภัยของผู้เอาประกัน รวมทั้งยังเป็นการยืนยันว่า ผู้เอาประกันได้มอบอำนาจหรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมารับเงินจริง

เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต

เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต

When a Policyholder Deceases

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่น่าจะเป็นการดีกว่าหากการจากไปนั้นได้สร้างหลักประกันอันมั่นคงให้กับทายาทหรือคนที่อยู่ข้างหลังไม่ว่าจะด้วยการทำประกันชีวิต หรือการออมทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ

เมื่อใดก็ตามที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับประโยชน์สามารถเรียกร้องเงินสินไหมได้ โดยจะต้องรีบแจ้งให้บริษัทประกันชีวิตทราบภายใน 15 วันหลังจากผู้เอาประกันเสียชีวิต พร้อมนำเอกสารต่างๆ มายืนยัน ได้แก่ กรมธรรม์ประกันชีวิต ทะเบียนบ้านที่มีการจำหน่ายการตายของผู้เอาประกัน ใบยินยอมของผู้รับประโยชน์หรือทายาทในการเปิดเผยประวัติ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และใบเรียกร้องสิทธิของผู้รับประโยชน์ พร้อมสำเนาทั้งหมดมาติดต่อกับบริษัทประกันชีวิต

จ่ายสินไหมให้กับใคร

เพราะอนาคตเป็นนสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ แม้ว่าคุณจะมีการวางแผนชีวิตอย่างรอบคอบด้วยการทำประกันชีวิตแล้วก็ตาม แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็มักเกิดขึ้นได้เสมอ จะทำอย่างไรหากผู้เอาประกันและผู้รับผลประโยชน์เกิดเสียชีวิตพร้อมกัน

โดยเฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันและผู้รับผลประโยชน์เกิดเสียชีวิตในเวลาใกล้เคียงกัน บริษัทฯ จะจ่ายสินไหมตามหลักการดังนี้

  1. หากสามีเสียชีวิตก่อน สินไหมจะตกเป็นของภรรยาในฐานะผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ แต่หากภรรยาเสียชีวิตในเวลาต่อมา เงินสินไหมนั้นจะตกเป็นกองมรดกของภรรยา
  2. หากภรรยาเสียชีวิตก่อน เท่ากับไม่มีผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ และหากสามีเสียชีวิตในเวลาต่อมา เงินสินไหมจะตกเป็นกองมรดกของสามี
  3. หากเสียชีวิตพร้อมกัน ให้ถือว่าไม่มีผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ เงินสินไหมจะตกเป็นกองมรดกของสามี

ดังนั้นทายาทคนใดคนหนึ่งของกองมรดกต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลเป็นผู้จัดการมรดกไปก่อน และนำคำสั่งศาลนั้นมาแสดงเพื่อขอรับเงินสินไหมต่อไป ในกรณีผู้เอาประกันระบุชื่อผู้รับประโยชน์มากกว่า 1 คน และผู้รับประโยชน์รายใดเสียชีวิตก่อนผู้เอาประกัน ผู้เอาประกันต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรในการเปลี่ยนตัวผู้รับประโยชน์ หรือแจ้งเปลี่ยนแปลงการรับประโยชน์ของผู้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่ แต่หากผู้เอาประกันมิได้แจ้งหรือไม่สามารถแจ้งให้บริษัทฯ ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ดังกล่าว เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต บริษัทฯ จะจ่ายเงินผลประโยชน์ส่วนของผู้รับประโยชน์รายที่เสียชีวิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่คนละเท่าๆ กัน

วันเสาร์

จรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิต

จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ ตัวแทนประกันชีวิต

จรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิต

จรรยาบรรณ ของตัวแทนประกันชีวิตทั้ง 10 ข้อนี้ เป็นดั่งคัมภีร์ที่นักขายประกันชีวิตทุกคน ควรศึกษาและจดจําให้ขึ้นใจ เพราะนอกจากจะนํามาซึ่งความสําเร็จในอาชีพแล้วยังนํามาซึ่ง ความภาคภูมิใจในอาชีพอย่างไม่มีที่สิ้นสุดอีกด้วย จรรยาบรรณเหล่านี้ประกอบด้วย
1. มีความซื่อสัตย์ต้อผู้เอาประกัน บริษัท และเพื่อนร่วมงาน
2. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
3. รักษาความลับของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
4. เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสํ าคัญ เพื่อการพิจารณารับประกันหรือความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์
5. ไม่เสนอแนะผู้ขอเอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย หรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์
6. ไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบํ าเหน็จ เพื่อเป็นการจูงใจให้เอาประกันชีวิต
7. ไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่ หากทำให้ผู้เอาประกันเสียผลประโยชน์
8. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนประกันชีวิตบริษัทอื่น หรือนายหน้าประกันชีวิตบุคคลอื่น
9. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
10. ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรม แห่งอาชีวปฏิญาณ

การประกันชีวิต มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ ทั้งในด้านการสร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัวผู้เอาประกัน การระดมเงินออมเพื่อพัฒนาประเทศ เกิดการลงทุนและการจ้างแรงงาน เพิ่มขึ้นเป็นต้น ธรุกิจประกันชีวิตจึงเป็นธุรกิจที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก เพื่อเป็นการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้เจริญเติบโตตัวแทนจะต้องช่วยกันสร้างภาพ พจน์และทัศนคติที่ดี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปยอมรับและเชื่อมั่นในธุรกิจด้วยการตระหนักในจรรยาบรรณ หน้าที่ และความรับผิดชอบของตัวแทนเพราะตัวแทนคือคนกลางระหว่างประชาชนทั่วไปหรือผู้ เอาประกันกับบริษัท

การสร้างความเชื่อมั่นต่อธุรกิจ ประกันชีวิต

เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีการสร้างหลักประกันให้แก่ครอบครัวอย่างกว้างขวาง และเพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตมีการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันสร้างความเชื่อถือและศรัทธาให้เกิดขึ้น ดังนี้

1. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการ ประกันชีวิต เป็นหน้าที่ของตัวแทนที่จะถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตให้กับ ประชาชนได้ทราบดังนั้น ตัวแทนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต เพื่อเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีในธุรกิจ
2. สร้างศรัทธาต่อการ ประกันชีวิต ตัวแทนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตเป็นอย่างดี และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขของกรมธรรม์ผลประโยชน์ ข้อยกเว้นเกี่ยวกับการรับผิดบางประการเพื่อว่าผู้เอาประกันจะได้เข้าใจใน เรื่องของการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในภายหลัง ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจ ความศรัทธาในบริการที่ดี และเชื่อว่าการประกันชีวิตช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเขาได้
3. สร้างศรัทธาให้เกิดแก่อาชีพตัวแทน ประกันชีวิต ตัวแทนทุกคนจะต้องพัฒนาตนเอง ทั้งความรู้ เทคนิคการขายการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ปลูกฝังทัศนคติที่ดี อาชีพตัวแทนเป็นอาชีพที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี มีความมั่นคงบังเกิดความรับผิดชอบต่ออาชีพ มีจรรยาบรรณนำมาซึ่งความเชื่อถือศรัทธาต่องานอาชีพตัวแทนประกันชีวิต
 

การเปิดเผยข้อความจริง

ตัวแทนหาประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิต เอาแบบคำขอประกันชีวิตให้เด็กหญิง ซึ่งเป็นผู้เอาประักันชีวิตตนเองลงลายมือชื่อเอาไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความ แล้วตัวแทนประกันชีวิตนำแบบคำขอเอาประกันชีวิตดังกล่าว ไปกรอกข้อความเอง เด็กหญิงซึ่งมีอายุเพียง 8 ปี จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะแจ้งข้อความเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเองให้ทราบได้ และไม่สามารถที่จะทราบถึงความร้ายแรงของโรคเลือดออกปกติที่ตนเป็นอยู่ได้ จะถือว่าผู้เอาประกันภัยละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคแรก ย่อมไม่ได้

อ่านเพิ่มเติม > การเปิดเผยข้อความจริง

ผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิต

ผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิต

ผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิต คือบุคคลที่จะได้รับสินไหมทดแทน หรือรับจำนวนเงินใช้ให้

ความจริงผู้รับประโยชน์ไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรงในสัญญาประกันชีวิต แต่เข้ามาเกี่ยวข้องในสัญญาด้วยเพียงในฐานะผู้รับค่าสินไหมทดแทน

ปกติผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์คนแรกโดยอัตโนมัติ แต่ในบางกรณีที่จำเป็นต้องมีผู้อื่นมารับสินไหมแทน จึงได้กำหนดให้ระบุผู้รับประโยชน์ เช่น ในกรณีผู้เอาประกันภัยมรณกรรม เป็นต้น

หน้าที่ของผู้รับประโยชน์ มีดังนี้

  1. กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับประโยชน์จะต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยเร็วที่สุด ถ้าช้าเกินกว่า 15 วัน จะต้องมีเหตุพิสูจน์ว่าทำไมจึงแจ้งช้า
  2. ต้องเป็นผู้รวบรวมเอาเอกสารเกี่ยวกับการมรณกรรมไปมอบบริษัท เช่น ใบมรณะบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบรับรองแพทย์ เป็นต้น
  3. ต้องให้ความร่วมมือในการพิสูจน์ศพ กรณีถูกฆาตกรรม หรือ อุบัติเหตุ

ในทางทฤษฎี ผู้เอาประกันภัยจะให้ผู้ใดเป็นผู้รับประโยชน์ก็ได้ แต่ในทางปฎิบัติบริษัทประกันชีวิตจะกำหนดให้ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประโยชน์จะต้องมีความผูกพัน ซึ่งจะเน้นไปที่การเป็นสายโลหิต หรือเป็นครอบครัว เช่น บิดา มารดา และบุตร เป็นหลักสำคัญ หากเป็นบุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ จะต้องแสดงหลักฐาน หรือแจ้งสาระของความผูกพันให้บริษัทพิจรณา

ที่บริษัททำการกวดขันเช่นนี้ ก็เพื่อรักษา หรือผดุงไว่ซึ่งศิลธรรม เนื่องจากมีการหวังผลประกันภัยด้วยการฆาตกรรมผู้เอาประกันภัย ซึ่งมักจะปรากฎบ่อยครั้งแม้ในประเทศที่เจริญ และมีความนิยมการทำประกันภัยเป็นจำนวนมากกว่าประเทศไทยถึงร้อยเท่าก็ตามที

กรณีที่ผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนผู้เอาประกันภัยแล้วจะเป็นอย่างไร สัญญาประกันภัยจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ และยังมีผลบังคตับปกติ ผู้เอาประกันภัยสามารภทำเรื่องเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ได้ แต่ถ้าไม่ทำอะไรก็เปรียบเสมือนกับกรมธรรม์ที่ไม่มีการระบุตัวผู้รับประโยชน์นั่นเอง หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลประโยชน์ก็จะตกสู่กองมรดก บริษัทประกันภัยไม่สามารถริบไว้ได้ ทางที่ดีจึงควรแจ้งเปลี่ยนแปลงผุ้รับประโยชนืดีกว่า

ทั้งหมดนี้ก็คือ ความสำคัญ คุณสมบัติ สิทธิ์หน้าที่ และข้อพึงระวัง ที่เกี่ยวกับผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัย ที่ควรทราบ

ขั้นตอนขอรับเงินผลประโยชน์

ขั้นตอนและหลักฐานในการขอรับเงินผลประโยชน์ ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ในการขอรับเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ หรือที่เข้าใจกันทั่วไปว่าเป็นการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้น ให้ดำเนินการดังนี้

1. ติดต่อบริษัทประกันภัยให้เร็วที่สุด
2. กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต จะแยกเป็นกรณีตามสาเหตุของการเสียชีวิต ดังนี้
2.1 เสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ
** ต้องแจ้งให้ทราบภายใน 14 วัน และเตรียมหลักฐานประกอบด้วย
(1) กรมธรรม์ประกันชีวิต (ถ้าหายให้แจ้งความแล้วนำสำเนา รายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายไปแสดงแทน)
(2) ใบเสร็จรับเงินงวดสุดท้าย
(3) ใบมรณบัตรของผู้เอาประกันภัย
(4) ทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์
(5) บัตรประชาชนของผู้รับประโยชน์

2.2 เสียชีวิตโดยฆ่าตัวตาย
* เตรียมหลักฐานตาม 2.1(1) - (5) โดยเพิ่ม
(6) สำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
(7) ใบชันสูตรพลิกศพ

2.3 เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ
* เตรียมหลักฐานตาม 2.1(1) - (5) โดยเพิ่ม
(6) สำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
(7) สำเนาบันทึกประจำวันหลังกลับจากสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
(8) ใบชันสูตรพลิกศพ

3. กรณีเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล ทุพพลภาพ และสูญเสียอวัยวะ
* แจ้งบริษัททราบภายใน 10 วัน และเตรียมหลักฐานดังนี้
(1) กรอกแบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าทดแทนของบริษัท
(2) ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลที่ระบุวันเริ่มต้น และวันสุดท้ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาล
(3) อื่น ๆ เช่น ฟิล์มเอ็กซซเรย์

4. กรณีกรมธรรม์ครบกำหนด
ในกรณีเป็นการประกันชีวิต ประเภทสะสมทรัพย์ที่มีเงินคืนเมื่อกรมธรรม์ครบกำหนด ให้ดำเนินการและเตรียมหลักฐาน
(1) ติดต่อบริษัทประกันภัย
(2) กรมธรรม์ประกันชีวิต
(3) บัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย

ออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ

วัยเกษียณกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในวัยเกษียณ

อีกทางเลือกสำหรับคุณ คุณเคยคิดหรือไม่ว่า ควรมีเงินสักเท่าไรเพื่อใช้จ่ายอย่างมีความสุขหลังวัยเกษียณ ปัจจุบันผู้หญิงไทยมีอายุเฉลี่ย 74 ปี ส่วนผู้ชาย 69 ปี ถ้าเกษียณตอนอายุ 55 ปีตามเกณฑ์เฉลี่ย ผู้หญิงต้องดำรงชีพจากเงินออมโดยมีรายได้ 19 ปี และผู้ชาย 14 ปี หากใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท ผู้หญิงควรมีเงินก้อนไว้ใช้จ่ายอย่างต่ำ 2,280,000 บาท ผู้ชายจะอยู่ที่ 1,680,000 บาท ทั้งนี้ยังไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อ

เริ่มออมเงินได้เลย การฝากเงินโดยทั่วไปมีต้นทุนในการเสียภาษี ซึ่งแต่เดิมการออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณมีเพียงไม่กี่ระบบ ที่ผู้ออมสามารถนำเงินออมไปหักลดหย่อนภาษีได้ เช่นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แต่มีข้อจำกัดที่จำนวนเงินและอนุญาตให้ออมเงินได้เฉพาะบางกลุ่ม เช่นข้าราชการ หรือพนักงานภาคเอกชน

ผู้ออมเงินในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่ซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในแต่ละปีสูงสุดถึงปีละร้อยละ 15 ของเงินได้ โดยจำนวนเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเ มื่อนับรวมเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกบข. แล้วต้องไม่เกิน 300,000 บาทในปีภาษีนั้น นอกจากนี้เงินที่ได้รับจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทั้งเงินต้น และผลประโยชน์จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนเงินได้ที่สามารถนำไปลงทุนและยกเว้นภาษีได้ก็ขยายกว้างขึ้น รวมทั้งเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำนาญ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากธุรกิจ

คู่มือสำรวจความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว

ที่ปรึกษาและวางแผนทางด้านการเงิน MFC

ในการซื้อประกันชีวิต หรือประกันภัยในอดึตบางทีลูกค้าซื้อด้วยความเกรงใจ หรือบางทีซื้อด้วยความรำคาญ ในเรื่องของการต่ออายุกรมธรรม์ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของลูกค้าเองเมื่อลูกค้าชำระเบี้ยมาแล้วและขาดอายุไปทำให้ผลประโยชน์ของลูกค้าหายไปด้วย

ตัวแทนประกันชีวิต ก็มีลักษณะการทำงานดั่งอาชีพอื่นๆ อาทิอาชีพแพทย์ซึ่งแพทย์ก็จะถามอาการต่างๆ ของคนไข้เช่นเดียวกัน ตัวแทนประกันชีวิตเวลาที่ลูกค้ามีปัญหาตัวแทนประกันชีวิตก็ต้องถามก่อนว่าลูกค้ามีความต้องการอะไร เมื่อเราได้คำตอบแล้วตัวแทนประกันก็จะจัดตัวแบบประกันให้ตามความเหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละรายได้อย่างถูกต้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เมืองไทยประกันชีวิต

Call Center โทร 1766

คุ้มครองแค่ไหน

บริษัทรับประกันจะรับผิดชอบและคุ้มครองมากน้อยเพียงใด

ในกรณีที่ผู้เอาประกันบางรายป่วยเป็นโรคหัวใจ และบังเอิญเกิดประสบอุบัติเหตุพลัดตกบันไดหัวฟาดพื้นจนเสียชีวิต กรณีแบบนี้หลายๆ คนคงจะอดสงสัยไม่ได้ว่า บริษัทรับประกันจะรับผิดชอบแค่ไหน และผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองมากน้อยเพียงใด

ในกรณีเช่นนี้ การจ่ายเงินสินไหมทดแทนจะขึ้นอยู่กับการชันสูตรพลิกศพของแพทย์ ถ้าหากแพทย์พิสูจน์แล้วแจ้งว่า เหตุที่เสียชีวิตนั้นเกิดจากภาวะหัวใจวาย ก็ถือว่าเป็นการเสียชีวิตจากโรค บริษัทฯ จะจ่ายเงินสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์เฉพาะทุนชีวิตเท่านั้น จะไม่คุ้มครองกรณีอุบัติเหตุ ถึงแม้ว่าผู้เอาประกันจะซื้อสัญญาแนบท้ายคุ้มครองอุบัติเหตุก็ตาม

แต่หากแพทย์ชันสูตรศพแล้วระบุว่ามีบาดแผลสาหัส และการเสียชีวิตนั้นเกิดจากสมองกระทบกระเทือน ไม่ใช่เกิดจากโรคที่ผู้เอาประกันเป็นอยู่ กรณีนี้บริษัทฯ จะรับผิดชอบจ่ายเงินสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ทั้งในส่วนของทุนชีวิต และสัญญาแนบท้ายคุ้มครองอุบัติเหตุ

วันศุกร์

ทำไมจึงต้องมีการประกันชีวิต

ทำไมจึงต้องมีการประกันชีวิต

สาเหตุที่ต้องมีประกันชีวิตเพราะ
ผู้เอาประกันชีวิตต้องการได้รับประโยชน์ในด้านความคุ้มครอง คือ เมื่อมีภัยเกิดขึ้นแก่ชีวิตทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสียรายได้เนื่องจาก การตายทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือชราภาพ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินให้ตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผุ้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์แล้วแต่กรณี

เพื่อการออมทรัพย์ หากผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อการประกันชีวิตแบบที่มีการออมทรัพย์รวมอยู่ด้วย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินก้อนหนึ่งตามที่ตกลงไว้เมื่อมีชีวิตอยู่ ณ วันที่สัญญาครบกำหนด ทั้งนี้บริษัทประกันชีวิตจัดเป็นสถาบันการเงินเช่นเดียวกับธนสคารและบริษัท เงินทุน

การประกันชีวิตให้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ บริษัทประกันชีวิตจะนำเอาเงินส่วนที่เป็นเงินออมของผู้เอาประกันภัยไปลงทุน ในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง หรือ นำไปลงทุนซื้อหุ้น หรือหุ้นกู้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้รัฐบาลสามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า สนามบิน ถนนหนทาง รถไฟฟ้าและอื่นๆ อันเป็นการลดภาระของรัฐบาลที่ต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ

วางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ

การวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ เป็นแนวคิดที่เกิด จากความต้องการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองตั้งแต่เริ่มต้นทำงานจน กระทั่งเกษียณ จนตายในที่สุด โดยไม่ต้องเป็นภาระแก่ลูกหลานหรือสังคม
การวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณเป็นกระบวนการที่แต่ละคนจะต้องกำหนด มาตราฐานการครองชีพที่ต้องการหลังเกษียณ เพื่อคำนวนเงินที่ต้องการ ณ วันที่เกษียณ แล้ววางแผนในการออมและการลงทุนตั้งแต่ปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามจำนวนเงินที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการวางแผนทางการเงินเป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้ระยะเวลา 20-30 ปี หลายๆ คนจึงมักมองข้ามความสำคัญของการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องของอนาคตที่ยังอยู่ห่างไกล ส่งผลทำให้ละเลยไปเรื่อยๆ จนเวลาล่วงเลยเข้าใกล้วัยเกษียณจึงค่อยมาตื่นตัว แต่นั่นก็อาจสายจนเกินไปเพราะเงินจำนวนมากมายที่คุณต้องการใช้หลังเกษียณก็ จำเป็นต้องใช้การสะสมเป็นเวลานานเช่นกัน
การวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณจึงเป็นกระบวนการที่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันที่คุณเริ่มต้นทำงาน โดยอาจกำหนดเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. การเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ ก่อนที่คุณจะวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ คุณต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินให้เพียงพอก่อน อย่างน้อยเก็บเงินสดซึ่งอาจอยู่ในรูปของบัญชีเงินฝากให้พอสำหรับเป็นค่าใช้ จ่ายให้ได้สัก 6 เดือน และทำประกันภัยทั้งรถยนต์ ที่พักอาศัย สุขภาพและชีวิตให้ครบถ้วน เพื่อที่ว่าเงินที่ลงทุนไว้ใช้หลังเกษียณจะได้ไม่ต้องถูกนำมาใช้เป็นค่าใช้ จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาที่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ตกงาน อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย
  2. การคาดการณ์จำนวนเงินที่ต้องการใช้ทั้งหมดหลังเกษียณ ทั้งนี้คุณต้องเริ่มคาดการณ์อายุขัยเฉลี่ยของตนเอง โดยอาจดูแนวทางจากอายุขัยเฉลี่ยของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันชายไทยจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 68 ปี ในขณะที่หญิงไทยจะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 75 ปี แล้วทำการปรับประมาณการอายุขัยเฉลี่ยโดยดูจากประวัติสุขภาพของตนเอง รวมทั้งอายุขัยของบุคคลอื่นๆ ในครอบครัว หลังจากนั้นคุณต้องตั้งเป้าหมายว่าจะเกษียณเมื่ออายุเท่าใด ซึ่งก็จะทำให้เห็นตัวเลขคร่าวๆ ว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอีกกี่ปี
    หลังจากนั้นจึงกำหนดมาตราฐานการครองชีพที่ต้องการหลังเกษียณโดยทดลองคำนวน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่คุณต้องการใช้หลังเกษียณในแต่ละปี แต่อย่าลืมว่าค่าใช้จ่ายบางส่วนอาจเพิ่มขึ้น ในการประมาณการค่าใช้จ่ายที่ต้องการหลังเกษียณ คุณต้องเผื่อค่าใช้จ่ายให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะกว่าที่คุณจะเกษียณในอีก 20-30 ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงอาจปรับตัวมากขึ้นหลายเท่าตัว
  3. การวางแผนการออมและการลงทุน เมื่อคุณรู้จำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องการหลังเกษียณ ก็จะต้องทำการเฉลี่ยสะสมจำนวนเงินที่ต้องการ โดยตั้งเป้าหมายในการออมให้ได้ในแต่ละเดือนก่อนที่จะนำเงินเดือนที่ได้รับไป ใช้จ่าย ทั้งนี้คุณสามารถเก็บเงินในแต่ละเดือนให้น้อยลงได้ ถ้าหากคุณรู้จักนำเงินเก็บนั้นไปลงทุนให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ดอกผลมาช่วยลด จำนวนเงินสะสมที่ต้องการ เพียงเท่านี้ก็ช่วยทำให้คุณสามารถดำรงชีวิตหลังเกษียณอยู่ได้อย่างเกษม
เรื่อง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล

วันนี้คุณมีคนดูแลชีวิตแล้วหรือยัง?

การมีตัวแทนประกันชีวิตที่ดี ก็เหมือนมีเพื่อนที่ดีคอยเป็นห่วงเป็นใยอยู่เคียงข้างคุณและคนที่คุณรักใน ทุกช่วงเวลาของชีวิต เขาคนนั้นอาจทำให้คุณมีรอยยิ้ม มีเสียงหัวเราะ และที่สำคัญเขายังจะคอยเป็นทั้งที่ปรึกษา แก้ปัญหา วางแผนการเงิน วางแผนชีวิต เพื่อให้คุณอุ่นใจและมั่นใจในทุกๆ ย่างก้าวของการดำเนินชีวิต

กรมธรรม์ประกันชีวิต

กรมธรรม์ประกันชีวิต ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญยิ่งอีกสิ่งหนึ่งเป็นเครื่องมือในลักษณะของสัญญาเพื่อประโยชน์ตอบแทนความสูญเสียรายได้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งยังไม่มีสัญญาชนิดใดที่ทำได้เหมือนกรมธรรม์ประกันชีวิต

การประกันชีวิตรับรองจำนวนเงินที่แน่นอนสำหรับครอบครัว หรือสำหรับวัยชราของผู้เอาประกันชีวิตเองโดยการประกันชีวิต บิดาอาจรับรองเงินค่าเล่าเรียนเพื่อการศึกษาของบุตรไม่ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่หรือจากไปก่อนก็ตาม คนจำนวนมากพากันกล่าวว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตนั้น ช่างยืดยาวหลายหน้า ตัวหนังสือก็เล็กๆ อ่านแล้วสับสนไม่เข้าใจ หลายคนสงสัยว่าทำไมกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงเขียนให้มันสั้นๆ ง่ายๆ ไม่ได้หรือ

เหตุผลที่กรมธรรม์ประกันชีวิตจะต้องระบุเงื่อนไขเอาไว้โดยละเอียดมีอยู่ 2 ประการที่สำคัญ

  1. เพราะสิทธิที่บริษัทให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์นั้นมีอยู่หลายประการ และบางประการอาจไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ คู่สัญญาของบริษัท อาจไม่มีชีวิตอยู่ชี้แจง หรืออธิบายความหมายของสัญญา ด้วยเหตุนี้เงื่อนไขต่างๆ จึงต้องเขียนอย่างชัดแจ้งใช้ภาษาที่รัดกุมมีกฏหมายรองรับเงื่อนไขทุกข้อซึ่งไม่เพียงแต่ปกป้องบริษัท หากแต่ปกป้องผู้เอาประกันภัยด้วย
  2. นายทะเบียนประกันชีวิตซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ควบคุมบริษัทประกันภัย ดดยกฏหมายบังคับให้บริษัทต้องระบุเงื่อนไข ข้อตกลงที่แน่ชัดเอาไว้ในกรมธรรม์ เพื่อป้องกันมิให้มีการเข้าใจผิดกัน บางกรณีอาจต้องเขียนข้อความตามที่ทางราชการกำหนดด้วย เมื่อเราพิจารณากรมธรรม์จำนวนล้านๆ ฉบับ ที่ออกให้ผู้เอาประกันภัยและจำนวนเงินนับพันล้านบาท ที่จ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ในปีหนึ่งๆ แล้ว ชี้ให้เห็นชัดว่าปัญหาเกี่ยวกับเงื่อนไขกรมธรรม์มีเพียงน้อยนัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนของเงื่อนไขกรมธรรม์และการใช้สิทธิ์ในกรมธรรม์

กรมธรรม์แบบต่างๆ

หลายท่านคงทราบดีแล้วว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตมีอยู่หลายแบบซึ่งแต่ละแบบมีรายระเอียดที่แตกต่างกัน แต่ก็คล้ายกันในสาระสำคัญและมีเงื่อนไขหลายข้อที่ตรงกันเป็นมาตราฐาน การที่จะให้นำกรมธรรม์ทุกแบบของบริษัทมาอธิบายในที่นี้คงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตามถ้าหากได้เข้าใจแบบกรมธรรม์หลัก 3 แบบแล้ว ก็จะช่วยให้ท่านสามารถศึกษาทำความเข้าใจกับกรมธรรม์แบบอื่นๆ ของบริษัทได้ง่ายยิ่งขึ้น

ในหน้าแรกของกรมธรรม์ประกันชีวิตจะต้องประกอบด้วย

  1. ชื่อผู้เอาประกัน ผู้รับผลประโยชน์
  2. จำนวนเงินเอาประกันภัย
  3. วันที่ออกกรมธรรม์ เลขที่กรมธรรม์ อายุของผู้เอาประกันภัย
  4. จำนวนเบี้ยประกันภัย วิธีชำระเบี้ยประกันภัย กำหนดเวลาในการชำระเบี้ยประกันภัย กำหนดเวลาในการประกันภัย
  5. สัญญาเพิ่มเติม หรืออนุสัญญา
  6. ชื่อบริษัทผู้รับประกันภัยและที่ทำการ

ข้อกำหนดในส่วนนี้จะมีความแตกต่างกันตามแบบของกรมธรรม์

แบบกรมธรรม์ จ่ายให้ใคร จ่ายเมื่อใด กำหนดชำระเบี้ยประกันภัย
1. ตลอดชีพ ผู้รับผลประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ตามกำหนดที่ระบุไว้/
หรือจนกว่าจะเสียชีวิต/
หรืออายุ 90 ปี
2. สะสมทรัพย์ ผู้เอาประกัน หรือผู้รับประโยชน์
ผู้รับผลประโยชน์

- เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตขณะสัญญาครบกำหนด

-เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนสัญญาครบกำหนด

ตามกำหนดที่ระบุไว้/
หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
3. ชั่วระยะเวลา ผู้รับผลประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนสัญญาสิ้นสุด ตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้/
หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต

ในหน้าต่อไปของกรมธรรม์ โดยปกติจะมีข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิของผู้เอาประกันภัยและสิทธิของบริษัท ดดยทั่วๆ ไปกรมธรรม์แบบตลอดชีพหรือแบบสะสมทรัพย์

  1. สิทธิครอบครองกรมธรรม์ เงื่อนไขข้อนี้ระบุอำนาจและสิทธิของผู้ถือกรมธรรม์อย่างไรบ้างเช่น
    1.1 ผู้ถือกรมธรรม์มีสิทธิจัดการทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับกรมธรรม์ตลอดเวลาที่เขามีชีวิตอยู่
    1.2 การมอบให้บุคคลอื่นเป็นผู้ถือกรมธรรม์
  2. ผู้รับประโยชน์ เงื่อนไขข้อนี้ให้สิทธิผู้ถือกรมธรรม์ในการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์
  3. การผ่อนผันชำระเบี้ยประกันภัย เงื่อนไขข้อนี้บริษัทให้สิทธิพิเศษแก่ผู้เอาประกันภัย โดยยืดเวลาออกไปอีก 30 วัน หลังจากวันที่ถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย และไม่ถือว่าผิดสัญญา ทั้งไม่คิดดอกเบี้ยด้วย
  4. การต่อสัญญา การขาดชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนด จะทำให้สัญญาขาดอายุลง เงื่อนไขข้อนี้จะรับรองให้ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิต่อสัญญาได้ภายในเวลา 5 ปี นับจากวันที่เบี้ยประกันภัยขาดชำระครั้งแรก แต่ทั้งนี้กรมธรรม์ฉบับดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเวนคืน และผู้เอาประกันภัยจะต้องแสดงหลักฐานสุขภาพและิอยู่ในสภาพที่รับประกันภัยได้
  5. สิทธิเกิดจากมูลค่ากรมธรรม์ กรมธรรม์จะมีมูลค่าเงินสด เมื่อกรมธรรม์มีอายุ 2-3 ปี แล้วแต่แบบ เมื่อกรมธรรม์มีมูลค่าเงินสดแล้วผู้เอาประกันภัยจะได้รับสิทธิ
    5.1 การชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติ เงื่อนไขข้อนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เอาประกันภัย ได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ไม่ได้ชำระเบี้ยประกันภัย หลังจากวันผ่อนผันสิ้นสุดลงแล้ว
    5.2 เวนคืนกรมธรรม์ ผู้ถือกรมธรรม์มีสิทธิที่จะขอเวนคืนกรมธรรม์โดยขอรับเงินสดตามมูลค่าที่ระบุไว้ในตารางมูลค่า
    5.3 กู้เงินกรมธรรม์ เงื่อนไขข้อนี้ให้สิทธิผู้เอาประกันภัยในยามที่ต้องการใช้เงินสามารถขอกู้จากบริษัทตามมูลค่าเงินสด ซึ่งบริษัทจะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างต่ำกว่าตลาด ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิที่จะชำระเงินกู้นี้ทั้งหมดหรือบางส่วนในเวลาใดก้ได้
    5.4 ขอแปรสภาพกรมธรรม์เดิมเป็นแบบกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ คือการลดจำนวนเงินเอาประกันภัยลง หรือเรียกว่ามูลค่าเงินสำเร็จ เงื่อนไขข้อนี้เปิดโอกาสให้ผู้เอาประกันภัยงดชำระเบี้ยประกันภัยแต่ให้คงแบบกรมธรรม์เดิมเอาไว้ เพียงแต่ลดจำนวนเงินประกันภัยลงอย่างเดียว
    5.5 ขอแปรสภาพกรมธรรม์เดิมเป็นแบบกรมธรรม์ขยายระยะเวลา บริษัทจะนำมูลค่าเงินสดไปแปรสภาพเป็นมูลค่ากรมธรรม์ขยายระยะเวลาโดยบริษัทจะคำนวนระยะเวลาความคุ้มครองให้ว่าจะขยายเวลาต่อไปได้อีกกี่ปีกี่วันในจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เท่าเดิม
  6. การแบ่งเงินปันผลกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันชีวิตมีอยู่ 2 ชนิดคือ ไม่มีเงินปันผล ซึ่งเบี้ยประกันภัยจะถูกกว่าชนิดมีเงินปันผลในกรมธรรม์แบบเดียวกัน
    โดยปกติกรมธรรม์ชนิดมีเงินปันผลจะได้รับเงินปันผลจากบริษัทหลังจากปีที่ 2 ของกรมธรรม์ ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิที่จะเลือกรับโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ดังนี้
    6.1 ขอรับเป็นเงินสด
    6.2 ใช้ลดเบี้ยประกันภัย
    6.3 ฝากสะสมไว้กับบริษัทในอัตราดอกเบี้ยที่รับรอง
  7. เงื่อนไขทั่วไป เป็นเงื่อนไขที่แจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบ ดังนี้
    7.1 ส่วนประกอบของสัญญา เงื่อนไขข้อนี้จะบอกให้ทราบว่าคำขอประกันภัย และคำแถลงสุขภาพของผู้เอาประกันภัยประกอบเป็นสัญญา และบริษัทถือเป็นสาระสำคัญในการรับประกันภัย
    7.2 อำนาจขจากตัวแทน เงื่อไขข้อนี้จะบอกให้ทราบว่า ตัวแทนประกันชีวิตไม่มีอำนาจในการทำการเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือให้สัญญากับผู้เอาประกันภัย และผู้ที่มีอำนาจทำการแทนบริษัทได้นั้น ต้องได้รับมอบอำนาจจากบริษัท คือผู้มีตำแหน่งใดบ้าง โดยปกติจะเป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับสูง
    7.3 สิทธิในการโต้แย้ง เงื่อนไขข้อนี้บอกให้ทราบว่า บริษัทจะไม่ใช้สิทธิโต้แย้งใดๆ หลังจากที่สัญญานี้เลยกำหนด 5 ปีแล้วตามกฏหมาย แต่บริษัทอาจกำหนดเวลาไว้น้อยกว่านี้ก็ย่อมได้ และบางบริษัทกำหนดไว้เพียง 2 ปี
    7.4 การมอบโอนสิทธิ เงื่อนไขข้อนี้เกี่ยวโยงกับกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นลูกหนี้ ซึ่งจะใช้กรมธรรม์เพื่อค้ำประกันเงินกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
    7.5 การเปลี่ยนแบบกรมธรรม์เงื่อนไขข้อนี้บอกให้ทราบว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยประสงค์จะเปลี่ยนแบบกรมธรรม์ที่ถืออยู่เดิมเช่น แบบตลอดชีพ แต่เห็นว่ายาวนานเกินไป อาจจะขอเปลี่ยนเป็นแบบที่มีระยะสั้นกว่า เช่นแบบสะสมทรัพย์ 20 ปี โดยเพิ่มเบี้ยประกันภัย
    7.6 อัตตวินิบาตกรรม เงื่อนไขข้อนี้บอกให้ทราบว่า การทำอัตตวิบาตกรรมด้วยใจสมัครภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ทำสัญญาบริษัทจะไม่จ่ายเงินประกันภัยให้เพราะอาจเป็นการจูงใจให้คนฆ่าตัวตายมากขึ้น
    7.7 ผู้เอาประกันภัยถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตาย เงื่อนไขข้อนี้บอกให้ทราบว่า บริษัทจะไม่ใช้เงินประกันภัยให้ หากผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยตายโดยเจตนา แต่จะคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้
    7.8 อายุคลาดเคลื่อน เงื่อนไขข้อนี้จะบอกให้ทราบว่า หากอายุในขณะเอาประกันภัยไม่ตรงตามความเป็นจริง บริษัทจะปฏิบัติดังนี้
    ก. บอกอายุน้อยกว่าความเป็นจริง การจ่ายเงินเอาประกันภัยจะลดลงตามส่วน แต่ถ้าอายุที่บอกไว้มากกว่าอายุจริง บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยส่วนที่เกินให้
    ข. ถ้าอายุที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยอยู่นอกจำกัดอัตราทาง ถ้าปกติชองบริษัทสัญญษจะเป็นโมฆียะ หรือสัญญาไม่มีผล

โดยสรุป สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาที่บริษัทประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย และสัญญาว่าจะจ่ายเงินเงินจำนวนหนึ่งที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์หรือผู้ถือกรมธรรม์ ในกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนสัญญาครบกำหนดหรือเมื่อสัญญาครบกำหนด และผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่บริษัทตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้เป็นงวดๆ ซึ่งมีเงื่อนไขแจ้งสิทธิต่างๆ และมีวิธีปฏิบัติอยู่ในสัญญาดังกล่าว

ใครๆ ก็รู้… 3เรื่องสำคัญก่อนทำประกันชีวิต

3เรื่องสำคัญก่อนทำประกันชีวิต
  1. ดูบัตรตัวแทนประกันชีวิต
  2. อ่านละเอียด กรอกตามจริง เซ็นชื่อเอง
  3. ขอใบรับเงินชั่วคราว
ปรารถนาจาก สมาคมประกันชีวิตไทย และสำนักงาน คปภ.

ทำประกันชีวิต มนุษย์​เงิน​เดือน

เจ็บคนเดียว ล้มทั้งบ้าน ทำประกันชีวิต มนุษย์เงินเดือน ที่คุ้มครอง

  • คุ้มครองชีวิต
  • คุ้มครองอุบัติเหตุ
  • คุ้มครอง 4 กลุ่มโรคร้ายแรง
  • คุ้มเป็นเงินออม
เริ่มต้นเพียงเดือนละ 700 บาท ที่ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารกสิกรไทย ได้ออกแคมเปญผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต “ประกันชีวิตมนุษย์เงินเดือน” สำหรับกลุ่มผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือเป็นผู้มีรายได้หลักของครอบครัว หรือหัวหน้าครอบครัวที่ต้องการสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวในระยะยาว ซึ่งจุดเด่นของแคมเปญดังกล่าว จะเป็นการรวมผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ กับการประกันโรคร้ายแรง และคิดเบี้ยประกันในอัตราที่ต่ำ เริ่มต้นเพียง 700 บาทต่อเดือน โดยชำระเบี้ยประกัน 15 ปี จะได้รับความคุ้มครอง 25 ปี

ทั้งนี้ผู้ทำประกันชีวิตมนุษย์เงินเดือน จะได้รับจ่ายเงินคืนทุกปี ปีละ 1% ของทุนประกัน เพื่อเก็บเป็นเงินออมสำหรับครอบครัว รับความคุ้มครองชีวิตสูงถึง 125% ของทุนประกัน และความคุ้มครองอุบัติเหตุเพิ่มอีก100% ของทุนประกัน เมื่อครบสัญญาจะได้รับรวมผลประโยชน์สูงถึง 150% ของทุนประกัน พร้อมสามารถใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีได้ตามเกณฑ์กรมสรรพากร

นอกจากนี้จะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากโรคร้ายที่ไม่คาดคิดใน 4 กลุ่มโรคร้ายแรง ได้แก่ กลุ่มโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ กลุ่มโรคมะเร็ง กลุ่มโรคที่มีภาวะขั้นรุนแรงขั้นสุดท้ายของ ตับ ปอด และไต และกลุ่มอื่น ๆ เช่น อัลไซเมอร์ และทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร

ปัจจุบันประเทศไทยมีกลุ่มมนุษย์เงินเดือนอยู่หลายล้านราย ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นหัวหน้าครอบครัว และเป็นผู้หารายได้หลักสำหรับครอบครัว ดังนั้นหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงแก่สมาชิกและลูกหลานในครอบครัว ในขณะที่ประกันชีวิตมนุษย์เงินเดือน จะตอบโจทย์ของคนวัยทำงานได้มาก เนื่องจากให้ความคุ้มครองอย่างครบวงจรทั้ง คุ้มครองชีวิต อุบัติเหตุ และโรคร้าย รวมทั้งสามารถใช้เป็นช่องทางการเก็บออมเงินสำหรับใช้จ่ายยามจำเป็นในอนาคต ได้

วันอังคาร

กองทุนประกันชีวิต

กองทุนประกันชีวิต

กองทุนประกันชีวิต มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีบริษัทล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตปะกอบธุรกิจประกันชีวิต และเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ
โดยกองทุนประกันชีวิตจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 84 แห่งพระราชบัญัญติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญัญิประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551

วัตถุประสงค์
1. เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ในกรณีที่บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต
2. เพื่อพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ

กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ ซึ่งรวมถึง (มาตรา 85/1)
1. ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครองและมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
2. ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใดๆ ทั้งในและนอกราชอานาจักร
3. ให้บริษัทกู้ยิมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
4. ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
5. กระทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

เงินกองทุนสามารถใช้จ่ายเพื่อ
1. ให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกัน ภัย ในกรณีบริษัทล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต
2. เป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ ทั้งนี้ ไม่เกินวงเงินที่ได้รับตามกฎหมาย
3. เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจการของกองทุน ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด โดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 ประกอบพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาตรา 87 ไ
ด้กำหนดให้มี "ผู้จัดการกองทุน" ซึ่งคณะกรรมการบริหารกองทุนแต่งตั้งการทำสัญญาจ้างผู้จัดการ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน

สิทธิของเจ้าหนี้ที่เกิดจากการเอาประกัน
ในกรณีที่บริษัทประกันชีวิตล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาติ และทรัพย์สินของบริษัทประกันชีวิตนั้นมีไม่เพียงพอ เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยมีสิทธิได้รับชำระหนี้จาก กองทุนประกันชีวิตไม่เกินหนึ่งล้านบาท (โดยรวมกับจำนวนเงินที่ได้รับชำระจากบริษัทประกันชีวิตมาก่อนแล้ว)
www.oic.or.th

มูลค่าเงินสด

มูลค่าเงินสด

มูลค่าเงินสด

CASH VALUE

มูลค่าเงินสด หมายถึงเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ส่งเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปตั้งแต่ 2 หรือ 3 ปีขึ้นไป กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับนั้นจะเกิดมูลค่าขึ้น มูลค่านี้เรียกว่า มูลค่าเงินสด ซึ่งถ้าผู้เอาประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญาถึงกำหนด ผู้รับประกันภัยจะจ่ายมูลค่าเงินสดคืนให้แก่ผู้เอาประกันภัย เงินสดที่จ่ายนี้เรียกว่า มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต (Cash Surrender Value หรือ Surrender Value)

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเวลาเลือกซื้อประกันชีวิต และประกันภัย

เลือกซื้อประกันชีวิต

  • ดูความคุ้มครอง หรือความเสี่ยงที่เราต้องเจอ จะได้เลือกประเภทของประกันได้เหมาะสม
  • รายละเอียดของความคุ้มครองสำคัยกว่าราคา หรือส่วนลด
  • ดูเงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ในกรมธรรม์ให้ดีๆ ผู้เอาประกันภัยอาจเสียเปรียบได้ถ้าไม่เข้าใจ
  • เปรียบเทียบกรมธรรม์ของหลายๆ บริษัท
  • ถ้าไม่แน่ใจว่าจะสามารถส่งเบี้ยประกันตามจำนวน และเวลาที่กำหนดได้ ควรเลือกกรมธรรม์ที่ส่งเบี้ยประกันไม่สูงนัก แต่ให้ความคุ้มครองได้ตามที่ต้องการ ถึงแม้ผลประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่มาก แต่ก็สามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน